top of page

กรุสมบัติ ส.ป.ก. ที่ดิน 35 ล้านไร่ กับเกษตรกร "โคตรจน"



#พื้นที่สอปอกอไม่รู้เป็นของใครแต่พื้นที่หัวใจรู้ไว้เป็นของคุณ #สะเทือนใจ #ใครช่วยที "ที่ดิน" จัดว่าเป็นทรัพย์สินที่มูลค่าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด มีความต้องการคิดเป็นเงินมหาศาล แต่รู้กันยังว่า ? ประเทศไทยมีที่ดินรวมกว่า 321 ล้านไร่ และสัดส่วนเกือบครึ่งอยู่ภายใต้กรรมสิทธิ์ของหน่วยงานภาครัฐ อาทิ กรมที่ดิน / ป่าสงวนแห่งชาติ / กรมป่าไม้ / ที่ดินราชพัสดุ / กรมธนารักษ์ / การรถไฟแห่งประเทศไทย และสำนักงานการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เป็นต้น นับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันนโยบายของรัฐบาลแทบทุกสมัย มักบอกว่าต้องการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับเกษตรกรไทย หนึ่งในแนวทางยกระดับคุณภาพชีวิต ปากท้อง คือ กระจายที่ดินให้เกษตรกรมีที่ทำมาหากิน เป็นแหล่งผลิตอาหารให้กับคนไทยและผลิตสินค้าเกษตร ทำให้วันนี้ประเทศไทยส่งออกพืชเศรษฐกิจติดอันดับต้นๆของโลก แต่..ที่กล่าวมานั้นเป็นเพียง “มายาคติ” เชิงนโยบาย ในความจริง!! การปฎิบัติกลับมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ทุกวันนี้เกษตรกรไทยยังเผชิญกับปัญหาขาดแคลนที่ดินทำกิน หรือแทบจะไม่มีโอกาสเข้าถึงที่ดิน เพราะกรรมสิทธิ์ที่ดินกระจุกตัวอยู่ในมือ “นายทุน นักการเมือง ข้าราชการ ผู้มีอิทธิพล ตระกูลใหญ่” แค่ไม่กี่กลุ่ม ความเหลื่อมล้ำการถือครองที่ดินในไทยเป็นปัญหาเรื้อรังมาอย่างยาวนาน หนึ่งในหน่วยงานที่มีบทบาทโคตรๆ คือ ส.ป.ก. ภาระกิจหลัก คือ ปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และปรับปรุงสิทธิการถือครองที่ดินของภาครัฐและเอกชนที่มีเกินความจำเป็น กระจายให้กับเกษตรกรเพื่อความเท่าเทียมกันด้านสิทธิและการถือครองที่ดิน พร้อมให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาอาชีพและรายได้ของเกษตรกรให้สามารถดำรงชีพในที่ดินที่ได้รับภายใต้เอกสารสิทธิ์ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ที่เริ่มใช้หลังจากมีพระราชบัญญัติการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 สำหรับผู้ที่มีสิทธิได้รับที่ดินตามกฎหมายฉบับดังกล่าว แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. เกษตรกร เป็นผู้ที่เป็นเกษตรกรอยู่แล้วตามความเป็นจริง มีที่ดินไม่เพียงพอกับการครองชีพ หรือผู้ประสงค์จะทำอาชีพเกษตรเป็นหลัก บุคคล ประเภทนี้ต้องเป็น ผู้ยากจน หรือจบการศึกษาทางการเกษตรกรรม เป็นต้น 2. สถาบันเกษตรกร อาทิ สหกรณ์การเกษตร และชุมชนสหกรณ์การเกษตรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ เป็นต้น 3. ผู้ประกอบกิจการอื่น ที่สนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามคำนามของกฎหมายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นต้น แม้ว่าเป้าหมายหลักของการหน่วยงาน ส.ป.ก. คือต้องการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำให้เกษตรเข้าถึงที่ดินทำมากินอาจจะยังไม่บรรลุผลสำเร็จทั้ง 100% แต่ก็อดตั้งข้อสังเกตุเล็กๆน้อยๆไม่ได้ว่าที่ดินเอกสารสิทธิ์ ส.ป.ก. 4-01 ในปัจจุบันมีสัดส่วนการถือครองโดยเกษตรกรตัวจริงแค่ไหน หรือบางส่วนตกไปอยู่ในมือนายทุนโดยใช้ชื่อชาวบ้านเป็นนอมินีเป็นสัดส่วนแค่ไหน ?? ตัวอย่างเช่น การถือครองที่ดินแบบแปลกๆของส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ดังมาก ผิดมาก แต่ก็จบไปได้อย่างน่ารักน่าชัง นั่นแค่เคสเดียวที่โด่งดัง #เสี่ยวCREW เชื่อเหลือเกินว่าคงมีอีกหลายเคสที่ซ่อนอยู่ในหน่วยงานแห่งผลประโยชน์ ซึ่งประชาชนก็ตรวจสอบไรไม่ได้อีกตามเคยนะฮะ สำหรับข้อมูลสรุปผลการดำเนินงานจัดสรรที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ประกอบด้วย 3 กลุ่ม ได้แก่ ที่ดินเกษตรกรรม ที่ดินชุมชน และที่ดินเอกชน กลุ่มแรก: ที่ดินจัดสรรให้กับเกษตรทั่วประเทศ จำนวน 2,244,218 ราย รวมเป็นที่ดิน 35,320,043 ไร่ แบ่งเป็นรายภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดสรรที่ดินให้กับเกษตรกรมากที่สุด จำนวน 1,181,264 ราย เป็นที่ดิน 18,157,761 ไร่ / ภาคเหนือจำนวน 550,339 ราย เป็นที่ดิน 8,014,789 ไร่ / ภาคกลางจำนวน 257,710 ราย เป็นที่ดิน 5,340,905 ไร่ / ภาคใต้จำนวน 254,905 ราย เป็นที่ดิน 3,806,588 ไร่ กลุ่มสอง: ที่ดินจัดสรรให้กับชุมชนทั่วประเทศ จำนวน 626,998 ราย รวมเป็นที่ดิน 395,570 ไร่ แบ่งเป็นรายภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดสรรที่ดินให้กับชุมชนมากที่สุดจำนวน 416,781 ราย เป็นที่ดิน 243,975 ไร่ / ภาคเหนือจำนวน 147,253 ราย เป็นที่ดิน 108,158 ไร่ / ภาคกลาง จำนวน 56,635 ราย เป็นที่ดิน 40,442 ไร่ / ภาคใต้จำนวน 6,329 ราย เป็นที่ดิน 2,995 ไร่ กลุ่มสาม :ที่ดินจัดสรรให้กับเอกชนทั่วประเทศ จำนวน 30,097 ราย รวมเป็นที่ดิน 484,819 ไร่ แบ่งเป็นรายภูมิภาค ภาคกลางจัดสรรที่ดินให้กับเอกชนมากที่สุดจำนวน 18,093 ราย เป็นที่ดิน 275,141 ไร่ / ภาคเหนือจำนวน 9,772 ราย เป็นที่ดิน 180,821 ไร่ / ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 1,880 ราย เป็นที่ดิน 25,926 ไร่ / ภาคใต้จำนวน 352 ราย เป็นที่ดิน 2,931 ไร่ สรุป: วันนี้!! ในยุคสินค้าเกษตรตกต่ำ เกษตรกรหลายรายกำลังแย่ และอาจต้องถึงขั้นสูญเสียที่ดินทำกินขายให้กับนายทุน หรือในกรณีต้องเช่าที่ดินจากนายทุนคงยากที่จะหนีพ้นวิกฤตหนี้สินล้นพ้นตัว บ้างละถิ่นฐานมาขอ "ตายเอาดาบหน้า" บ้าง “ตายไปแล้ว” ที่มา: สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม อัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2562

0 views0 comments
bottom of page