top of page

ธนาคารพาณิชย์มั่นคง..แล้วไง?



ธนาคารพาณิชย์มั่นคง..แล้วไง? #ฐานะอาจไม่มั่นคงเหมือนธนาคาร #แต่ใจที่ให้น้องนางซื่อตรงมากกว่าใคร

“เราจะไม่เกิดวิกฤตและผ่านความผันผวนทางเศรษฐกิจไปได้ เนื่องจากระบบธนาคารพาณิชย์มีความมั่นคง” ประโยคแสดงความมั่นใจประมาณนี้ คงเคยผ่านหูผ่านตากันใช่ไหมฮะ ยิ่งช่วงเศรษฐกิจติดหล่ม สถานการณ์ย่ำแย่แบบนี้ คงได้ยิน ได้เห็นกันถี่ขึ้น จากกูรูทางเศรษฐศาสตร์และการเงิน

ลูกหนี้หลายคนฟังก็อาจสงสัย ว่า ธนาคารมั่นคงแล้วไงอ่ะ? เกี่ยวไรกะชีวิตเรา เพราะตอนนี้กูแย่หนักมากกก!! แถมระยะเวลาพักหนี้-จ่ายขั้นต่ำก็ใกล้หมดแล้ว สักพักคงกลับมาทวงยิกๆดังเดิมไม่เห็นช่วยไร เนี่ยดูดิ..มั่นคงชะมัด แต่เราโคตรหม่นหมอง

หากใครกำลังคิดแบบนั้นอยู่ก็ไม่ผิดนะ แต่ก็ไม่ถูกและเห็นแก่ตัวไปนิสฮะ #เสี่ยวCREW ขอเรียนเชิญมาดูเหตุผลประกอบ เพื่อเปลี่ยนทัศนคติกันหน่อย

- เป็นหนี้ก็ต้องจ่าย ไม่อยากจ่ายก็ไม่ต้องไปกู้ กู้มาแล้ว เอามาใช้แล้ว บางกรณีใช้เยอะเกินไปภาระเลยหนักตาม ทั้งหมดนี้เป็นภาระที่ก่อขึ้นเองล้วนๆโทษธนาคารไม่ได้ ดังนั้นก่อนกู้ยืมมาใช้ต้องเริ่มจากตัวเราเองก่อน ไตร่ตรองให้รอบครอบถึงความจำเป็น ความพร้อม และคิดเผื่อถึงเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจกระทบรายได้เอาไว้ด้วย

- ธนาคารเป็นธุรกิจต้องมีกำไร ดอกเบี้ยจากเงินกู้ประเภทต่างๆ = ส่วนหนึ่งของกำไร ดังนั้นไม่มีใครให้คุณยืมฟรีๆโดยไม่คิดดอกหรอกนะจ๊ะ ดอกต่ำ ดอกสูง ก็ว่ากันไปตามประเภทของเงินกู้ ฐานะผู้กู้ โปรโมชั่น ตลอดจนนโยบายภาครัฐในช่วงนั้นๆ ซึ่งเรื่องนี้ผู้กู้มีสิทธิ์เลือกถ้ามันแพงไปก็ไม่ต้องใช้อีกเช่นกัน แต่หากจำเป็นจริงๆก็ต้องคำนวณอย่างละเอียด และเลือกใช้อัตราที่เรารับได้ จ่ายไหว

- ฐานะที่มั่นคงของธนาคารช่วยพยุงระบบให้รอด (แม้ลูกหนี้บางรายจะไม่รอด) ในภาวะเศรษฐกิจร่อแร่เฉกเช่นปัจจุบัน ผู้ประกอบการหลายรายได้รับผลกระทบ ดำเนินกิจการไม่ได้ รายได้หดตัวรุนแรง ไม่มีเงินหมุนเวียน และสุดท้ายอาจนำไปสู่การปลดคนและปิดกิจการ การมีธนาคารที่มั่นคงจะช่วยสถานการณ์เหล่านี้ได้ ด้วยการให้สินเชื่ออัดฉีดเข้าไปเพื่อรักษาสถานะธุรกิจให้ไปต่อ ไม่ต้องปิด ไม่ต้องปลด แต่นั่นก็หมายความว่าเจ้าของธุรกิจต้องกลายเป็นลูกหนี้ผู้รับภาระ ซึ่งมันก็ยังดีกว่าการล้ม เละตุ้มเปะอยู่ดี เพราะในอนาคตยังมีโอกาสทำให้ธุรกิจเติบโตได้ ลองคิดภาพดู หากกิจการแย่ ต้องล้ม ต้องปิด จำนวนมากพร้อมกัน ธนาคารก็ดันแย่ด้วยไม่มีเงินให้สินเชื่อ ทุกคนหาแหล่งทุนไม่ได้ คงพากันพังเกินกว่าจะจินตนาการทีเดียวเชียว

ทีนี้มาดูกันต่อฮะว่าปัจจุบันระบบธนาคารพาณิชย์ของเราแข็งแรงขนาดไหน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จุดแข็งของวิกฤติครั้งนี้คือระบบธนาคารพาณิชย์มีความแข็งแรงมาก มีการควบคุมหนี้เสียให้อยู่ในระดับต่ำเพียง 3.14% ต่างจากปี 40 ซึ่งหนี้เสียสูงถึง 52% สะท้อนเรื่องสภาพคล่องได้เป็นอย่างดี เมื่อผนวกกับมาตรการต่างๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้สถาบันการเงินจะเป็นแกนหลักในการพยุงเศรษฐกิจโดยรวมให้เดินหน้าต่อไปได้ ขณะเดียวกันพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยปัจจุบัน ไม่ได้มีปัญหาเรื่องการขาดความสมดุลของภาคการเงินในลักษณะเดียวกันกับปี 40 แต่ปัญหาครั้งนี้เกิดขึ้นจากโรคระบาด ซึ่งเป็นภัยธรรมชาติขนาดใหญ่ ดังนั้นเมื่อสามารถควบคุมตัวแปรดังกล่าวได้แล้ว การฟื้นตัวจะทำได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากปัญหาครั้งนี้กระทบเป็นวงกว้าง ดังนั้นผู้ได้รับผลกระทบจึงมากกว่า ตั้งแต่ธุรกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจเอสเอ็มอี และประชาชนรายย่อย ซึ่งต่างจากในปี 40 ที่ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจะเป็นกลุ่มสถาบันการเงิน นายทุน หรือภาคธุรกิจเป็นหลัก

ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการ บลจ.เอ็มเอฟซี และอดีตคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ผลกระทบต่อระบบเศษรษฐกิจจากการระบาดของโควิด-19 จะร้ายแรงกว่าวิกฤติต้มยำกุ้ง เพราะกระทบเป็นวงกว้างต่างกับปี 40 ที่กระทบจากปัญหาสภาพคล่องของระดับบน เช่น สถาบันการเงิน และบริษัทขนาดใหญ่ อย่างไรก็ดีมองว่าการช่วยเหลือจากภาครัฐทำได้ดีกว่าปี 40 โดยเฉพาะการช่วยเหลือตั้งแต่ระดับล่างขึ้นไปถึงระดับบน โดยเฉพาะธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ออกมาตรการสนับสนุนสภาพคล่องเข้าสู่ระบบ เช่น การปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) โดยให้แบงก์ไปปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งเป็นการโฟกัสไปที่สภาพคล่อง เพิ่มออกซิเจนให้สังคมทุกระดับ ให้ได้มีโอกาสหายใจในช่วงนี้ เหมือนที่แพทย์ช่วยคนป่วยจากโควิด-19 อีกมาตรการคือการเข้าไปดูแลด้านสภาพคล่องให้กับตลาดเงิน ตลาดพันธบัตร หุ้นกู้ต่างๆ มองว่าเป็นมาตรการที่ดี และทำได้ดีกว่าปี 40 "การที่ธปท.ออกมาช่วยดูแลด้านสภาพคล่อง ถือว่าถูกต้อง เพื่อช่วยไม่ให้ เกิดปัญหาการขาดสภาพคล่อง ไม่ให้เกิดการวิตก ไม่ใช่เกิดการตื่นตระหนกจนแห่ถอนเงิน เหมือนกรณีที่เกิดกับ เลห์แมน บราเธอร์ส ในอดีต ซึ่งถือเป็นบทเรียนสำคัญในการเข้าไปช่วยดูแลสภาพคล่องตลาดตราสารหนี้ เพื่อหยุดความตื่นตระหนก ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ไม่ใช่ทำเพื่อคนรวย แต่ช่วยประคองทั้งระบบ"

ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป สถาบันเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต การระบาดของโควิด-19 ส่งกระทบหนักต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายด้าน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว และระบบการผลิตของโลก ทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว สถานการณ์วันนี้แตกต่างจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจปี 2540 ซึ่งกระจุกตัวในภาคการเงินและโรงงานอุตสาหกรรมบางส่วน แต่คราวนี้ได้กระจายวงกว้าง เพราะกระทบกับประชาชนฐานรากและคนชั้นกลาง ซึ่งความเสียหายจะรุนแรงกว่าปี 40 ให้จับตากลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี มีโอกาสล้มละลายและต้องปิดกิจการจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลต่อปัญหาว่างงานอย่างมีนัยสำคัญ แต่ยังมองในแง่ดี ว่า พื้นฐานด้านการเงินการธนาคารยังค่อนข้างแข็งแรง ซึ่งสามารถซัพพอร์ตและขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อไปได้ แม้จะไม่ดีเหมือนเดิม แต่ก็ไม่แย่ไปกว่าปี 40 ซึ่งภาคสถาบันการเงินเป็นฝ่ายพังเสียเอง ดังนั้นหากโควิด-19 สามารถควบคุมได้ทั้งหมดในช่วงครี่งปีหลัง จะทำให้เศรษฐกิจของบางประเทศฟื้นตัวค่อนข้างรวดเร็ว

7 views0 comments
bottom of page