ประยุทธ โชว์จ่ายหนี้สูงสุด นักวิชาการเตือน ระวังหนี้พุ่ง ทะลุเพดาน 70% ของ GDP

ประยุทธ โชว์จ่ายหนี้สูงสุด นักวิชาการเตือน ระวังหนี้พุ่ง ทะลุเพดาน 70% ของ GDP #เห็นหนี้สาธารณะก็ปวดหัวเห็นเธอมีผัวก็ปวดใจ
รู้หรือไม่ ? รัฐบาล “ประยุทธ จันทร์โอชา” เป็นรัฐบาลที่ชำระหนี้สาธารณะมากที่สุด เมื่อเทียบกับรัฐบาลในอดีตที่ผ่านมา โดยตั้งแต่ปี 57 ถึงปัจจุบัน ชำระหนี้ไปแล้วมากกว่า 2.6 ล้านล้านบาท . ก็ไม่รู้นะครับว่าอย่างไร เพราะไม่ได้มีการเปรียบเทียบเอาไว้ ว่า รัฐบาลที่ผ่านๆ มาเค้าจ่ายกันปีละเท่าไร แต่ช่างมันเถอะครับ . เอาเป็นว่าปัจจุบันเรามีหนี้สาธารณะอยู่เกือบ 11 ล้านล้านบาท คิดเป็น 61.5% ของ GDP (มูลค่าเศรษฐกิจไทยอยู่ที่ 17.7 ล้านล้านบาท) ซึ่งยังอยู่ในกรอบวินัยการคลังที่ 70% ของ GDP . จากข้อมูลปัจจุบันของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง ตั้งแต่เดือน ม.ค.-เม.ย. 2566 หนี้สาธารณะก็เพิ่มขึ้นมาเดือนละนิดละหน่อย ดังต่อไปนี้ . ม.ค. 66 10,692,883.79 ล้านล้านบาท ก.พ. 66 10,724,775.89 ล้านล้านบาท มี.ค. 66 10,797,505.46 ล้านล้านบาท เม.ย. 66 10,895,273.14 ล้านล้านบาท . สำหรับหนี้ที่เพิ่มขึ้นเดือนละนิดละหน่อยดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นเงินกู้ล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ขณะที่หนี้สาธารณะทั้งหมดมาจาก หนี้สะสม / หนี้เพื่อการลงทุน โครงสร้างพื้นฐาน / หนี้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 . #เสี่ยวCREW ไม่ออกความเห็นเรื่องหนี้นะครับ เพราะเห็นมันก็อยู่อย่างนี้มาพักหนึ่งแล้ว ไม่ได้ลดลง อย่างไรก็ตาม “การสร้างภาวะไร้เสถียรภาพทางการเมือง” ที่กำลังเกิดขึ้นตอนนี้ อาจเป็นตัวแปรที่สร้างปัญหาใหญ่ให้กับประเทศเกินกว่าที่ลุงๆ คาดเอาไว้ . ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ กรรมการวิทยาลัยนานาชาติ ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ อดีตกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง ระบุว่า หนี้สาธารณะต่อ GDP อาจพุ่งทะลุ 70% ในอนาคตอันใกล้ นำไปสู่ปัญหาวิกฤติฐานะทางการคลังได้ หากปล่อยให้เกิดวิกฤตทางการเมืองจากการไม่ยอมรับผลเลือกตั้ง และก่อให้เกิดนิติสงคราม . เนื่องจากการสร้างภาวะไร้เสถียรภาพ โดยนำคดีต่างๆ ที่เกิดจากนิติสงคราม มาขยายผลในสื่อ บวกกับการบิดเบือนข้อเท็จจริง ปลุกปั่นมวลชนจัดตั้ง เพื่อสร้างให้เกิดภาวะความตึงเครียด ขัดแย้ง และนำไปสู่วิกฤตการณ์วุ่นวายในบ้านเมือง . การกระทำเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อภาคการลงทุน และการทำงานของภาครัฐ ทำให้สูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ เปิดช่องแทรกแซงโดยอำนาจนอกวิถีประชาธิปไตย สร้างสถานการณ์เพื่อให้เกิดภาวะที่กลไกรัฐบาลตามครรลองประชาธิปไตยตามปรกติไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ . แต่หากการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองภายใต้หลักประชาธิปไตยเรียบร้อยดี เศรษฐกิจไทยก็มีโอกาสฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง
ข้อมูลจาก: FB ประยุทธ จันทร์โอชา / สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง / สำนักข่าวอินโฟเควสท์