ปีหน้าเผาจริงป่ะล่ะ

ปีหน้าเผาจริงป่ะล่ะ #เศรษฐกิจไม่ดีไม่เป็นไรขอแค่เธอมีใจแค่นั้นพอ #ก็มาดิค้าบบ #พร้อมบวก “ปีหน้าเผาจริง” ประโยคสุดหลอน ให้อารมณ์สะเทือนใจแนวๆนี้ เราคงเคยได้ยินกันมาหลายรอบ ซึ่งปลายปีนี้ก็กลับมาฮิตอีกครั้ง เพราะสถานการณ์เศรษฐกิจ การทำมาหากิน ปากท้อง ส่งออก ท่องเที่ยว การลงทุน มันช่างห่อเหี่ยวหดหู่พิกล อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งที่มีการพูดประโยคนี้อย่างแพร่หลายปรากฎว่า เราผ่านมาได้ทุกครั้งฮะ ยังไม่โดนเผาแหลกลาญไปตามที่คาดไว้ แต่..ครั้งนี้อาจต่างออกไป เนื่องจากปัจจัยลบเกิดขึ้นพร้อมกันทั่วโลกและส่งผลกระทบยืดยาววว ขณะที่ในประเทศเราเองการใช้จ่ายก็ค่อนข้างฝืดเคืองกันทั่วตามที่สัมผัสกันได้ ธุรกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก ภาคเกษตรทรงไม่ค่อยดีมาพักใหญ่แล้ว ส่งออก ท่องเที่ยวก็ไม่ปังดังเดิม การแข่งขันด้านการลงทุนแลดูจะเพิ่มสูงขึ้นจากคู่แข่งรอบบ้าน การกระตุ้นระดับนโยบายก็ยังไม่ค่อยเห็นผล ฯลฯ เอาเป็นว่า “โหด” อยู่แล้ว ณ บัดนาว ดังนั้นปีหน้ามันเลยน่ากลัวและเป็นเหตุให้หลายๆสำนักเค้ามองคล้ายกันว่าเศรษฐกิจปีหน้าไม่ค่อยสดใส แต่เราต้อง “รอด” ฮะ #เสี่ยวCREW ชวนมาดูปัจจัยบวก ปัจจัยลบ ทางเศรษฐกิจปีหน้า เพื่อให้พร้อมรับมือกันดีฝ่า ปัจจัยบวก 1. การดำเนินมาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง 2. การท่องเที่ยวมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะอยู่ที่ 41-42 ล้านคน 3. การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ 4. การลงทุนภาครัฐมีโอกาสเร่งตัวมากขึ้น 5. การลงทุนภาคเอกชนเริ่มมีสัญญาณดีขึ้น (โดยเฉพาะในพื้นที่ EEC / โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ 6. ธนาคารกลางทั่วโลกใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อาทิ การลดอัตราดอกเบี้ย 7. มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ให้เข้าถึงสินเชื่อ ควบคู่กับการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน 8. กำลังซื้อของประชาชนฐานรากที่เพิ่มขึ้นตามมาตรการสวัสดิการแห่งรัฐ การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก และมาตรการประกันราคาสินค้าเกษตร ปัจจัยลบ 1. ความไม่แน่นอนของสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ความเสี่ยงจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน รวมทั้ง BREXIT 2. เศรษฐกิจจีนมีโอกาสขยายตัวต่ำกว่า 6% 3. ความเข้มงวดในการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินในประเทศ ซึ่งเป็นผลจากการใช้มาตรฐานทางบัญชีใหม่ TFRS9 4. เงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง และแข็งค่ามากกว่าสกุลเงินหลักอื่นๆ โดยคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 29.75-30.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ 5. ความไม่แน่นอนทางการเมืองส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ 6. หนี้เสีย (NPL) ของสถาบันการเงิน 7. ภัยธรรมชาติ 8. ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจสูงขึ้นจาก การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฯลฯ สรุป: อย่าไปกลัวเกินเหตุ ใครจะว่าเศรษฐกิจไม่ดีเรายิ่งต้องเตรียมตัวให้พร้อม อะไรจะเกิดมันห้ามกันบ่ได้ แต่เราต้องรับมือและแก้ไขให้ได้ สู้ๆกันนะจ๊ะทางวิบากรออยู่ ที่มา: ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย