top of page

ฝ่าฤดูวิกฤต!! SMEต้องรอด



ฝ่าฤดูวิกฤต!! SMEต้องรอด #เวลามีวิกฤตต้องมองหาโอกาสเวลาคิดถึงมากต้องมองหาคุณ #ของโคตรดี #APM

วิกฤตที่กำลังเกิดตอนนี้คงพูดได้ว่า “ไม่มีธุรกิจไหนไม่กระทบ”

ไซส์ไม่เกี่ยวโดนกันยับ แต่..ความยับของแต่ละธุรกิจนั้นอาจแตกต่าง

ธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือ “SME” คงหนักหน่อย

เนื่องจากสายป่านของตังค์ในกระเป๋าอาจไม่ยาวพอเหมือนธุรกิจใหญ่

แถมการเข้าถึงแหล่งทุนก็จำกัด และต้นทุนทางการเงินสูงกว่า

แต่..ก็ใช่ว่าจะต้องตายเสมอไป ทางรอดยังพอมี !!

#เสี่ยวCREW มีโอกาสได้ดูคลิปของบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินระดับเซียน APM (แอสเซทโปร แมเนจเม้นท์) ผู้บอ (บริหาร) ให้คำแนะนำ เรื่องการปรับตัวให้อยู่รอดของ SME ไว้จ๊าบมาก..บอกเลย!!

สรุปสาระสำคัญดังต่อไปนี้นะฮะ ลองเอาไปปรับใช้กันโลดด

• วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดในอดีตมักมีสภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืดเกิดขึ้นพร้อมกัน ทำให้ไม่มีสภาพคล่องเข้าสู่ระบบ เป็นผลให้ตลาดการเงินและภาคธุรกิจสะดุดดำเนินกิจการต่อไม่ได้

• วิกฤตครั้งนี้แม้ผลกระทบจะเกิดในวงกว้าง แต่สภาพคล่องยังมีค่อนข้างมากจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลประเทศต่างๆ อัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำ ตลาดการเงินยังไม่สะดุด ดังนั้นผู้ประกอบการยังมีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

• วิกฤตที่เกิดขึ้นเป็นตัวบังคับให้ผู้ประกอบการต้องปรับปรุงกิจการใหม่ ลดค่าใช้จ่ายด้านต่างๆที่ไม่จำเป็น ลดขนาดองค์กร เปลี่ยนวิธีการทำงาน โดยมีเป้าหมายคือให้ธุรกิจไปต่อได้

• การเจรจากับแบงค์เพื่อขอวงเงินมาใช้ในกิจการ ไม่ควรไปด้วยความต้องการขอสินเชื่อเพียงอย่างเดียวสิ่งที่ผู้ประกอบการควรทำเพื่อนำไปประกอบการเจรจาให้สำเร็จ คือ การประเมินสถานะกิจการ / แผนการปรับปรุงธุรกิจแบ่งเป็นระยะ / ความจำเป็นในการใช้วงเงินในแต่ละช่วงของแผน

• การไปขอสินเชื่อแบบไม่มีแผน ไม่มีการประเมินตัวเอง ไม่มีอะไรเลย ผลคือไม่ได้แน่นอน การแสดงความพร้อมด้วยการจัดทำแผนธุรกิจ แผนลำดับการใช้จ่าย จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ธนาคารเกิดความเชื่อมั่น

• การทำแผนของผู้ประกอบการ SME ควรแบ่งออกเป็น 3 ระยะ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1. ระยะสั้น: ทำประมาณการทางการเงิน ประเมินผลกระทบที่จะเกิด ระยะเวลาที่จะเกิด ดูกระแสเงินสดกับค่าใช้จ่าย เราอยู่ได้ถึงแค่ไหน ทบทวนค่าใช้จ่ายที่สามารถลดได้ ตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นให้สอดคล้องกับกระแสเงินสด

2. ระยะกลาง: ปรับรูปแบบการดำเนินงาน ให้เป็นไปตามแผนของประมาณการทางการเงิน หากทำแล้วยังไม่ไหว ต้องปรับโครงสร้างหนี้ ลำดับความสำคัญของค่าใช้จ่าย เจรจาขอเลื่อน ขอหยุด ตามเงื่อนไขที่สามารถทำได้ ปัจจุบันรัฐและสถาบันการเงินมีนโยบายให้ความช่วยเหลือภาคธุรกิจให้ไปต่อได้อยู่แล้ว แต่ผู้ประกอบการเองก็มีความจำเป็นต้องรักษาสถานะกิจการให้เข้าเงื่อนไขการได้รับความช่วยเหลือเช่นกัน

3. ระยะยาว: หาแหล่งทุนที่ต้นทุนต่ำ เช่น การหาพันธมิตรทางธุรกิจเข้ามาร่วมทุน การระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อให้ธุรกิจเกิดความมั่นคงอีกระดับหนึ่ง สามารถขยายกิจการได้อย่างคล่องตัว มีผลตอบแทนจากการดำเนินธุรกิจที่สูงขึ้น แต่การจะดำเนินการในส่วนนี้ได้ผู้ประกอบการต้องสร้างฐานะการเงินที่แข็งแกร่งระดับหนึ่ง มีระบบบัญชีที่มีมาตรฐาน ซึ่งต้องผ่านกระบวนการปรับปรุงกิจการที่ประสบความสำเร็จจาก ระยะสั้น ระยะกลาง มาก่อน

ทั้งหมดที่กล่าวมาไม่ง่าย!! แต่ก็ใช่ว่าจะทำไม่ได้ ผู้ประกอบการทุกท่านคงต้องอดทนอย่างแรงกับการแก้ไข ค่อยๆผ่านความยากไปทีละเสต็ป เพื่อให้ธุรกิจสามารถเอาตัวรอดจากวิกฤตครั้งนี้ไป และดีขึ้นกว่าเดิมในอนาคต

ปอ.ลิง. ที่เขียนมาทั้งหมดใช้สรุปเอา คำพูดอาจไม่ตรงกับผู้บอทั้ง 3 ท่านเป๊ะๆ แต่รับรองไม่มั่วแน่ๆ ใครอยากดูตัวเต็มตามไปตำได้ที่นี่ฮะ

Facebook: https://www.facebook.com/APMTH.Channel/ Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCT6RuBeKdo1gzAJhPhyLShg

2 views0 comments
bottom of page