top of page

พร้อมรบกับหุ้นไอพีโอปี 62



พร้อมรบกับหุ้นไอพีโอปี 62


#ไอพีโอยังมีขึ้นลงเป็นคู่กันแล้วเมื่อไหร่เราจะมีกันตลอดไป

“ให้หุ้นเท่ากับแช่ง” ณ ช่วงเวลาหนึ่งเมื่อไม่นานเท่าไหร่ หลายคนคงมีอารมณ์ประมาณนี้คละเคล้าความเศร้า ความเจ็บปวด จนกรอบ จากการลงทุนในหุ้นไอพีโอ (Initial Public Offering)

จากที่เคยแย่งกันเพราะได้กำไรเป็นกอบเป็นกำในระยะเวลาอันสั้น กลับกลายเหมือนมีคนเอาขี้มายื่นให้ เพราะหากมองย้อนกลับไปราคาหุ้นไอพีโอทั้ง 20 หลักทรัพย์ที่เข้าซื้อขายใน SET และ MAI ต่างพากันร่วงต่ำกว่าราคาจองซื้อแทบทั้งสิ้น ต่างจากอดีตที่ไอพีโอหลายบริษัทร้อนแรงบวกเป็น 100% ในช่วงแรกของการเข้าซื้อขาย

จนถึงตอนนี้เชื่อเหลือเกิน “อาการแหยง” น่าจะยังไม่หมดไป และบางคนอาจเงินหมดไปแล้วกับไอพีโอที่ยังติดอยู่ อย่างไรก็ตามในช่วงต้นปีไอพีโอ 2 หลักทรัพย์ที่เพิ่งเข้าซื้อขาย ประกอบด้วย กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เอส ไพรม์ โกรท (SPRIME) และบมจ.เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป (ZEN) เหนือจองทั้งคู่นะจ๊ะ แต่ก็ยังวางใจไม่ได้ว่าต่อจากนี้มันจะแจ่มว้าวแบบนี้ไปตลอดรอดฝั่ง เพราะเบื้องหลังของหุ้นบางตัวมีเกมส์เน่าๆแฝงอยู่ด้วยเสมอ ขณะที่หุ้นบางตัวก็อาจมีพื้นฐานที่ดี เติบโต และน่าลงทุน

#เสี่ยวCREW เอาแนวทางการลงทุนไอพีโอจากวีไอ (Value Investment) รุ่นเก๋า "ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร" มาฝากให้คิดและใช้คัดเลือกหุ้นไอพีโอที่มีคุณภาพ ลดความเสี่ยง และบรรเทาความเจ็บปวดกัน แต่ถ้าเตือนแล้วยังไม่ฟัง ก็แล้วแต่เลยยย!!

ประเด็นแรก บริษัทที่กำลังเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯเพื่อต้องการระดมทุนเพิ่มความมั่งคั่งให้กับตนเอง ขยายกิจการ หรือลดความเสี่ยงในงบการเงิน ดังนั้นสิ่งที่ต้องแสดงให้กับนักลงทุนรับทราบคือ "การเจริญเติบโตของผลประกอบการ" เพื่อที่นักลงทุนจะได้ยินดีจ่ายเงินร่วมลงทุนซื้อหุ้นไอพีโอตามที่บริษัทต้องการ

สิ่งที่ควรระมัดระวัง คือ บริษัทนั้นอาจจัดทำระบบบัญชีเพื่อมีกำไรเติบโตที่ดีในช่วง 1-2 ปีแค่นั้นหรือไม่ ยิ่งในยามที่ตลาดบูมราคาไอพีโอนั้นถูกกำหนดสูงกว่าพื้นฐานที่ควรจะเป็นของกิจการหรือไม่

ประเด็นสอง ไอพีโอหลายรายไม่มี "Track Record" หรือ ผลประกอบการย้อนหลังหลายๆปี แม้หลายบริษัทก่อตั้งมายาวนาน ส่วนมากผลประกอบการที่ดีของบริษัทมักจะปรากฏสั้นๆเพียง 2-3 ปีก่อนเข้าตลาด จึงไม่เห็นความสม่ำเสมอด้านการเติบโตว่าแข็งแกร่งจริงหรือไม่

ประเด็นสาม บริษัทที่เข้ามาจดทะเบียนส่วนมาก มักใช้โอกาสผลประกอบการเติบโตดี เรียกว่าเป็นจังหวะหรือโอกาสทองช่วงสั้นๆที่วงจรธุรกิจเป็นขาขึ้น ทำให้สามารถขายหุ้นได้ราคา และราคาหุ้นสูงขึ้นไปได้อีกระยะหนึ่งหลังการเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ตัวอย่างเช่น กลุ่มธุรกิจผลิตและจำหน่ายสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) เป็นต้น

ประเด็นสุดท้าย อยากให้สังเกตุบริษัทที่มีจำนวนหุ้นเข้ามาซื้อขายหมุนเวียนในตลาดหลักทรัพย์ฯวันแรกน้อย หากนำไปเปรียบเทียบกับพอร์ตลงทุน หรือเม็ดเงินนักเล่นหุ้นที่มีจำนวนมหาศาล นั้นแปลว่าราคาไอพีโอบริษัทนั้น สามารถถูกปั่นได้อย่างไม่มีข้อจำกัด หากมี "ขาใหญ่" เพียงรายเดียวต้องการจองซื้อหุ้นทั้งหมดที่หมุนเวียนในตลาด ทำให้เขากำหนดราคาซื้อขายได้เช่นกัน ทำให้ในช่วงแรกปัจจัยพื้นฐานคงแทบไม่มีความหมายหรือความสัมพันธ์กับราคาหุ้นเลย

ถ้าไอพีโอบริษัทใดเข้าข่ายน่าสงสัยตามที่กล่าวข้างต้น ซื้อแล้วมีโอกาสขาดทุน เป็นไอพีโอที่แต่งตัวมาขายในราคาที่น่าเกลียด นักลงทุนควรหลีกเลี่ยง และอย่าเข้าไปเล่นหลังราคาหุ้นขึ้นไปสูงมากจากราคาไอพีโอที่เข้าซื้อขายไปแล้ว”

ข้อมูลรายชื่อบริษัทที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคำขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตามตาราง)



0 views0 comments
bottom of page