พักหนี้เกษตรกร ยิ่งทำยิ่งจนจริงหรือ

พักหนี้เกษตรกร ยิ่งทำยิ่งจนจริงหรือ #ใครอยากพักหนี้ก็พักไปแต่ผมขอพักใจไว้ที่คุณ
“พักหนี้เกษตรกร” มาตรการเร่งด่วนของรัฐบาลกำลังจะเริ่มขึ้นในเดือน ต.ค.นี้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพในการพักหนี้ทั้งต้นและดอกให้เกษตรกร 3.9 ล้านรายทั่วประเทศ มูลหนี้รวมประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท เป็นระยะเวลา 3 ปี . นโยบายนี้ทำให้เกิดการถกเถียงกันไปมากมายในหลากหลายวงการ ทั้งเด็กเอน พริตตี้ นักเศรษฐศาสตร์ นักการเงิน ไปยันกลุ่มเกษตรกรเอง หลักใหญ่ใจความ คือ มันจะได้ผลแน่นะ ? เพราะที่ผ่านมาทำมาทุกรัฐบาล ทำมาแล้ว 13 ครั้ง ผลลัพธ์ที่ได้คือ จนลงแถมมีหนี้เพิ่ม !!! . สาเหตุที่เกษตรกรจนลงและเป็นหนี้เพิ่มขึ้น ประกอบด้วย • รายได้น้อยไม่พอรายจ่าย • รายได้ผันผวน-ไม่สม่ำเสมอ • ขาดวินัยทางการเงิน ปัจจุบันเกษตรกรมีหนี้สินเฉลี่ยอยู่ที่ 4.5 แสนบาท/ครัวเรือน และ 57% ของเกษตรกรทั้งระบบมีหนี้สินสูงกว่าความสามารถในการชำระหนี้ . ดูจากสาเหตุแล้วมันก็มีความน่าเห็นใจอยู่แหล่ะครับ เพราะราคาสินค้าเกษตร สภาวะในการเพาะปลูก ต้นทุน ภัยธรรมชาติ เป็นปัจจัยที่ค่อนข้างแปรปรวน ควบคุมได้ยาก และกระทบกับรายได้ที่จะเข้ามา ฟาดชิ่งไปถึงการชำระหนี้ โดยตรง . อย่างไรก็ตามมันมีปัญหาที่ต้องแก้ไขด้วยตัวเอง คือ “การขาดวินัยทางการเงิน” ยกตัวอย่างให้เห็นภาพสักนิด เกษตรกรหลายรายเมื่อได้พักหนี้ ไม่สนใจ หรือ อาจไม่ทราบว่า ดอกเบี้ยมันทบตามระยะเวลา และทำให้หนี้เพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาพักชำระ . ดังนั้นในระยะเวลาพักหนี้ มีภาระลดลง จึงจำเป็นต้องวางแผนลดการใช้จ่าย ควบคุมการใช้จ่าย และเร่งหาวิธีเพิ่มรายได้ ทั้งจากการเพาะปลูกหรือการทำอาชีพเสริมอื่นๆ เพื่อรองรับภาระที่จะสูงขึ้น . ภาพตัดมาที่โลกความจริง อ้าว!! พักหนี้ก็สบายดิค้าบบ หยุดหรือลดภาระไปขณะหนึ่ง ไม่ต้องจ่าย มีตังค์เพิ่ม ดันไปลั้นลาใช้จ่ายอย่างอื่นแพบบ ซื้อข้าวของนู่นนี่ซะงั้น แถมยังไปกู้เงินจากแหล่งอื่นเพิ่มเข้าไปอีกก ผลลัพธ์มันก็เลยวนเวียนอยู่อย่างนี้ . อย่างไรก็ตามการพักหนี้เกษตรกรรอบนี้ เค้าว่ามันต่าง!! เพราะมีมาตรการรองรับและเพิ่มรายได้ ไม่ใช่พักไปเรื่อยไปเปื่อย แต่ต้องเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรด้วยเพื่อไม้ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย อาทิ เปิดตลาดใหม่เพิ่มโอกาสส่งออกสินค้า ใช้เทคโนโลยีเข้ามาสร้างความแม่นยำในการเพาะปลูก เพิ่มจำนวนและคุณภาพผลผลิต ใช้นวัตกรรม Blockchain ประกันราคาสินค้าเกษตรล่วงหน้า สร้างความเป็นธรรมให้เกษตรกรด้วยการให้ราคาที่ควรได้รับ ฯลฯ . #เสี่ยวCREW ไม่ได้เหมาว่าเกษตรกรเป็นแบบที่ยกตัวอย่างไปทุกคนนะครับ หลายคนมีพฤติกรรมดังกล่าว และมันแสดงผลออกมาให้เห็นเป็น หนี้เสีย หนี้เรื้อรัง ที่กำลังจะส่งต่อให้ลูกหลานเพิ่มมากขึ้น สำหรับท่านที่สู้สุดใจพวกเราเป็นกำลังใจให้ฟื้นคืนครับ และหวังว่ามาตรการในครั้งนี้จะได้ผลและเกิดการเปลี่ยนแปลง
ข้อมูลจาก: สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ / ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)