มาตรการ "พักหนี้" เครื่องช่วยหายใจของผู้ป่วยโคม่า

มาตรการ "พักหนี้" เครื่องช่วยหายใจของผู้ป่วยโคม่า #ถ้าเธอเป็นหนี้จะมีแต่ความทุกข์ #ถ้าเธอเป็นของเราจะมีแต่สนุกและอบอุ่นใจ
ล่าสุดแบงก์ชาติและสมาคมธนาคาร ออกมาตรการ "พักชำระเงินต้น-ดอกเบี้ย" อย่างน้อย 2 เดือน ให้กับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการล็อคดาวน์ เริ่มตั้งแต่รอบการชำระเดือน ก.ค.เป็นต้นไป... . โครงการนี้ครอบคลุมลูกหนี้ทุกกลุ่มตั้งแต่รายย่อยยันผู้ประกอบการ ซึ่งธนาคารและผู้ประกอบการสินเชื่อต่าง ๆ ขานรับกันทั้งสิ้น โดยพบว่า ธนาคารออมสิน ให้พักชำระนานสุดถึง 6 เดือน . จัดเป็นมาตรการที่ดี เพื่อช่วยต่อลมหายใจแก่ลูกหนี้ เพราะการล็อคดาวน์ส่งผลกระทบรุนแรงต่อการหารายได้ แต่ต้องเข้าใจนะครับ ว่า การ "พักชำระเงินต้น-ดอกเบี้ย" ไม่ได้แปลว่า ค่างวดที่ต้องจ่ายมันจะหายไปกับสายลม แค่พักหรือเลื่อนไปก่อนเท่านั้น !!! . ดอกเบี้ยก็ยังเดินจากเงินต้นอยู่ เพียงแต่ยังไม่ต้องชำระ 2-6 เดือนนี้ โดยอาจจะไปเฉลี่ยกับหนี้ที่เหลือ หรือขยายเวลางวดสุดท้ายออกไป ซึ่งลูกหนี้ต้องศึกษารายละเอียดให้ชัดเจน (แปลง่ายๆ คือ ตรงปลายทางจะมีหนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งตรงนั้นเราไม่รู้ว่า ฐานะ ความพร้อมด้านการเงินของเราจะดีหรือแย่ขนาดไหน) . ประเด็นสำคัญ คือ ปัญหาหนี้สินของคนไทยในระยะยาว ตัวเลขล่าสุดพบว่า "หนี้ครัวเรือน" พุ่งทะลุ 90% ของจีดีพีไปแล้ว (ถ้ารวมหนี้นอกระบบเกิน 100% แน่นอน) สูงสุดรอบ 18 ปีตามสถิติที่แบงก์ชาติรวบรวมไว้ มูลค่าหนี้สูงถึง 14.13 ล้านล้านบาท !!! ซึ่งเป็นข้อมูล ณ สิ้น ไตรมาส 1/64 เท่านั้น . รอดูตัวเลข ณ ไตรมาส 2/64 ให้ดี High ใน High แน่นอน (เหมือนยอดผู้ติดเชื้อ) . ทั้งนี้หนี้ครัวเรือนของไทยมาจาก 3 กลุ่มใหญ่ คือ 1.หนี้บ้าน / 2.หนี้เพื่อการประกอบอาชีพและธุรกิจ / 3.หนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคทั่วไป . อีกข้อมูลจากกระทรวงการคลังที่น่าสนใจ คือ... • หนี้ธุรกิจทั้งรายใหญ่ และ SME ที่อยู่ในมาตรการพักหนี้-ปรับโครงสร้างหนี้ มีจำนวนประมาณ 21,310 กิจการ วงเงินหนี้ 87,948 ล้านบาท • หนี้ครัวเรือนที่เข้าโครงการปรับโครงสร้างมีจำนวนถึง 3.21 ล้านบัญชี วงเงินหนี้ 1.18 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 9% จากไตรมาส 1/63 ก่อนโควิดระบาด สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ภายในเวลาเพียงปีกว่า ๆ เท่านั้นบ่งชี้ว่าวิกฤตรอบนี้เล่นงานทั้งงานภาคธุรกิจและประชาชนอย่างรุนแรง . "อมรเทพ จาวะลา" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธ.ซีไอเอ็มบี ไทย มองเรื่องนี้ "มาตรการพักหนี้" ถือว่ามีความสำคัญในระยะสั้นนี้ เพราะผู้ประกอบการ ลูกจ้าง ไม่มีรายได้เข้ามา ถ้าไม่มีมาตรการพักหนี้ออกมาอาจจะทำให้เกิดหนี้เสีย ซึ่งจะเป็นปัญหาในการดำเนินธุรกิจ หรือขอสินเชื่อใหม่ในอนาคต . สิ่งที่ต้องดูกันอาจจะไม่ใช่ดูธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ ธนาคารต้องมีการเร่งคุยกับลูกค้าที่ไม่สามารถกลับมาทำธุรกิจได้อย่างปกติ จะต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาหนี้เสียในอนาคต . การพักหนี้ระยะยาว 6 เดือน ถึง 1 ปี จะเป็นการสร้างแรงจูงใจที่ผิด สำหรับคนที่มีความสามารถในการชำระหนี้ เพราะจะทำให้ไม่มีเงินที่เข้ามาสู่สภาพคล่องโดยรวม ซึ่งจะส่งผลกระทบกับการปล่อยสินเชื่อให้กับรายอื่นที่มีความจำเป็น เป็นการสร้างผลกระทบ ต่อเศรษฐกิจในระยะยาว . ปัญหานี้เป็นระดับโครงสร้าง ต้องแก้ที่โครงสร้าง เช่น การลดดอกเบี้ย ถ้าทำได้จะเป็นการช่วยลดภาระหนี้ในอนาคต เพราะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้น ซึ่งหากลูกหนี้ยังมีภาระดอกเบี้ยสูง การพักหนี้ไปเรื่อยๆ อาจจะไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ตรงจุด . ปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยกระจุกอยู่กับคนที่มีรายได้น้อย ภาระหนี้ต่อรายได้ก็อยู่ชนเพดานแล้ว การก่อหนี้ในอนาคตค่อนข้างจำกัด ต้องไปดู ว่า มีการผ่อนเกณฑ์ หรือ ช่วยให้เขามีรายได้เพิ่มมากขึ้น ถ้าไม่ช่วยแล้วจะเป็นการผลักให้ไปสู่การ กู้หนี้นอกระบบซึ่งจะแก้ปัญหาระยะยาวได้ยาก ต้องพยายามใช้มาตรการทางการคลังเร่งสร้างรายได้ให้กับคนที่มีรายได้น้อย ไม่เช่นนั้นจะเป็นปัญหากับเศรษฐกิจในระยะยาว . "รณดล นุ่มนนท์" รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน แบงก์ชาติ มองเรื่องนี้ การพักหนี้อาจจะไม่ใช่การแก้ปัญหาหนี้ประชาชน แค่เป็นการยื้อเวลาให้ลูกหนี้อยู่รอด ในสถานการณ์ที่ต้องเจอเฉพาะหน้า ทำให้ต้องมีมาตรการอื่นมาเสริม ควบคู่ไปกับการปรับโครงสร้างหนี้ ที่แบงก์ชาติมั่นใจจะสามารถลดหนี้ประชาชนได้จริงจังยั่งยืน . สิ่งสำคัญ คือ หลังจากนี้จะทำอย่างไร ถึงให้ลูกหนี้และประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ควบคู่กับการปรับโครงสร้างหนี้ เพราะในเวลานี้ภาครัฐได้แค่ลดค่าครองชีพ ผ่านมาตรการเติมเงิน เยีวยา และลดค่าน้ำค่าไฟฟ้า รวมทั้งพักหนี้เอาไว้ก่อน เหมือนเป็นการต่อลมหายใจ เพื่อรอวันโควิดคลี่คลาย แต่คำถาม คือ จะช่วยให้ประชาชนฟื้น จนลุกขึ้นยืนได้อีกครั้งได้อย่างไร ? . ใช่ครับ...ในระยะยาวยังหาคำตอบไม่ได้ว่าจะฟื้นจากอะไร เพราะกลุ่มที่มีอำนาจในการบริหารยังขาดแคลนสิ่งที่เรียกว่า "ประสิทธิภาพ" ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมโรคระบาด การจัดการวัคซีน รวมถึงวิธีการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของประชาชน . ตัวเลขต่างๆ ข้างต้นยังไม่รับรู้การระบาดหนักระลอก 3 ด้วยซ้ำ คิดแล้วก็น่าสยองแทนประชาชนคนไทยเหลือเกิน บอกได้เลยว่า "มึดตึ๊บ" ...