ระวังหนี้สาธารณะ วิบวับ!!

ระวังหนี้สาธารณะ วิบวับ!! #หนี้ผมวิบๆๆๆๆเงินผมมีนิดๆๆๆๆ #โหดเกิ้น #สู้ๆนะจ๊ะ หลังจากรัดบานแสดงศักยภาพ ประกาศกู้เงินจากออมสินและกรุงไทย 20,000 ล้าน!! เพื่อชดเชยขาดดุลงบประมาณที่มีการเบิกจ่ายเหลื่อมปีมาจากงบประมาณปี 62 อายุเงินกู้ 1 ปี 6 เดือน (24 ธ.ค.62 - 24 มิ.ย.64) อัตราดอกเบี้ย 0.15019% ต่อปี กระแสวิพากวิจารณ์สนั่นลั่นทุ่งโซเชียลฯ ก็เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ยับหนักมากก เข้าใจอารมณ์แหล่ะ ด้วยสถานการณ์ที่บีบคั้น เศรษฐกิจเหี่ยวเฉา ไร้ความก้าวหน้า เกมส์การเมืองเละเทะ แถมการกู้เงินของรัฐที่เราเห็นกันโดยปกติ ส่วนมากจะมาในรูปพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรออมทรัพย์ สัญญากู้ยืมเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วเงินคลัง อะไรก็ว่ากันไป มักจะไม่ค่อยเห็นการกู้เป็นเงินสด แต่นี่ดันมาประกาศโครม!!แบบนี้ พ่อแม่พี่น้องก็เลยขึ้น!!กันหมด ท้ายที่สุด กระทรวงคลัง ต้นเรื่องออกมาเคลียร์ "การกู้เงินชดเชยการขาดดุลงบประมาณ เป็นสิ่งที่จำเป็น สามารถกระทำได้ เป็นเรื่องปกติ ที่ผ่านมามีการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณมาหลายปี เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พี่น้องประชาชนสบายใจได้ ถึงแม้จะทำงบประมาณขาดดุลและต้องมีการกู้เงินบ้าง แต่กระทรวงการคลังสามารถดูแลให้อยู่ในกรอบวินัยการคลังอย่างเคร่งครัด ในอนาคตจะพยายามจัดทำงบประมาณแบบสมดุลโดยเร็วที่สุด" ฟังดูก็น่าจะโอเค แต่มันก็ยากที่จะสบายใจ เพราะหนี้กำลังพุ่งขึ้น สวนทางกับการหดตัวของ GDP และจะทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มโดยอัตโนมัติ “ตามหลักวินัยทางการเงินและการคลัง รัฐบาลควรมีสัดส่วนกู้เงินไม่เกิน 3% และระดับหนี้สาธารณะไม่เกินสัดส่วน 60% ของมูลค่า GDP ซึ่งในปัจจุบันระดับหนี้สาธารณะอยู่ประมาณ 41% ยังไม่เป็นอันตรายกับวินัยทางการคลัง แต่สิ่งต้องระมัดระวังคือในภาวะเศรษฐกิจไม่ดี จะส่งผลให้มูลค่ารวม GDP มีโอกาสลดลง เป็นตัวแปรให้สัดส่วนของหนี้สาธารณะปรับเพิ่มขึ้นเองโดยธรรมชาติ (หนี้บวม)”อัลบัส เพอร์ซิวาล วูลฟริก ไบรอัน ดัมเบิลดอร์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนฮอกวอตส์และพ่อมดผู้ยิ่งใหญ่ ไม่ได้กล่าว แต่พ่อมดด้านเศรษฐศาสตร์ท่านหนึ่งเป็นผู้กล่าว ดังนั้นการบริหารหนี้สาธารณะให้สมดุล ควรให้ความสำคัญแนวโน้มการเติบโต GDP ควบคู่ไปด้วย จากการสำรวจข้อมูลหนี้สาธารณะ เป็นหนี้รัฐบาลโดยตรง / หนี้รัฐวิสาหกิจ / หนี้หน่วยงานรัฐ เป็นต้น ณ เดือน ธ.ค.62 อยู่ที่ 6,953,936 ล้านบาท (เกือบ 7 ล้านล้านบาทแล้ว) คิดเป็น 41.19% เมื่อเทียบกับมูลค่า GDP ซึ่งอยู่ที่ 16,883,923 ล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อแบ่งเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง ณ ธ.ค.62 อยู่ที่ 5,741,488 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ต.ค.62 อยู่ที่ 5,666,079 ล้านบาท (ช่วงสูญญากาศงบประมาณ) สรุป: เศรษฐกิจไทยปีนี้มีแนวโน้มชะลอตัวหนัก หลายสำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจมองเสี่ยงถึงขั้น "ติดลบ" ในไตรมาสแรก ต่อให้รัฐบาลจะไม่กู้เพิ่มแต่เมื่อมูลค่า GDP ลด หนี้สาธารณะของประเทศ มีโอกาส "บวม" แน่ๆ ส่วนการจัดเก็บรายได้ของรัฐเอง ก็คงแย่ไม่แพ้กัน เพราะทุกภาคธุรกิจเหนื่อยกันหมด จอบอจบ