top of page

รายย่อยโกอินเตอร์ลุยหุ้นนอก ทุบสถิติเงินลงทุนทะลุ 1 แสนล้าน



รายย่อยโกอินเตอร์ลุยหุ้นนอก ทุบสถิติเงินลงทุนทะลุ 1 แสนล้าน #หุ้นนอกดูแล้วมันน่าลุ้นแต่หน้าคุณดูแล้วมันน่ารัก ปี 64 นักลงทุนรายย่อยบ้านเราเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จำนวนนักลงทุนในตลาดหุ้นหุ้นไทยเพิ่มขึ้นเท่าตัวแตะ 3.1 ล้านราย มีบัญชีรวม 5.2 ล้านบัญชี บร๊ะ!!! . สาเหตุสำคัญ คือ การรับรู้เรื่องการลงทุนเพิ่มขึ้น มีทคโนโลยีการซื้อขายออนไลน์ที่สะดวกมากขึ้น รวมถึงช่วงโควิด-19 มีการกักตัวและ Work from home ส่งผลให้มีเวลามากขึ้นในการศึกษาและเริ่มลงทุน . ขณะที่อีกหนึ่งสถิติที่น่าสนใจไปกว่านั้น คือ การแห่ออกไปลงทุนหุ้นต่างประเทศ ของนักลงทุนรายย่อย หลังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับ FX Investment ecosystem เมื่อปลายปี 63 . โดยข้อหนึ่งที่สำคัญ คือ ยกเลิกวงเงินลงทุนหุ้นต่างประเทศของนักลงทุนภายใต้การกำกับของ ก.ล.ต. หรือ Qualified Investors และขยายวงเงินกรณีรายย่อยลงทุนตรงแบบไม่ผ่านตัวกลางในประเทศ เป็น 5,000,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ / ปี จากเดิมเพียง 200,000 ดอลลาร์ฯ / ปี . และลดขั้นตอนการลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ที่จะลงทุนต่างประเทศให้สะดวกขึ้น ส่วนที่ลงทุนผ่านตัวแทนในประเทศ ไม่จำกัดเงินลงทุน และ ไม่ต้องลงทะเบียน ซึ่งเอื้อต่อการลงทุนหุ้นต่างประเทศของนักลงทุนรายย่อยให้มีความคล่องตัวมากขึ้น . ส่งผลให้สิ้นปี 64 มีนักลงทุนรายย่อยไปเทรดหุ้นต่างประเทศเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว โดยจำนวนนักลงทุน ณ สิ้นปี 64 อยู่ที่ 55,963 ราย จากสิ้นปี 63 อยู่ที่ 20,471 ราย โดยเฉพาะการลงทุนตรงแบบไม่ผ่านตัวแทนในประเทศเพิ่มเป็น 4,157 ราย จากสิ้นปี 63 เพียง 734 ราย . ขณะที่มูลค่าการลงทุน ณ สิ้นปี 64 มีรายย่อยลงทุนหุ้นต่างประเทศมูลค่ารวมกว่า 3,148 ล้านดอลลาร์ฯ หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1 แสนกว่าล้านบาท จากสิ้นปี 63 เพียง 248 ล้านดอลลาร์ฯ หรือเพิ่มขึ้น 1,169% . งานวิจัยของ ธปท.ระบุว่า สาเหตุสำคัญที่นักลงทุนรายย่อยไทย ออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น คือ ... . 1. ความต้องการลงทุนหุ้นต่างประเทศมากขึ้น เพื่อกระจายความเสี่ยงและหาผลตอบแทนที่สูงกว่า โดยเฉพาะหุ้นเทคโนโลยีและการแพทย์ ซึ่งหากนับเฉพาะตลาดหุ้นอเมริกา มีสัดส่วนถึง 40% และ 11% ของอุตสาหกรรมทั้งหมด แต่ตลาดหุ้นไทยมีเพียง 9% และ 5% เท่านั้น . ซึ่งหุ้น 2 กลุ่มนี้ให้ผลตอบแทนสูงที่สุดในรอบ 3 ปี โดยผลตอบแทนเฉลี่ย 10 ปี, 5 ปี และ 3 ปี หุ้นต่างประเทศ (MSCI World Index) อยู่ที่ 9%, 14% และ 20% ตามลำดับ . ขณะที่ผลตอบแทนเฉลี่ยหุ้นไทย (เทียบ SET Index) ช่วง 10 ปี, 5 ปี และ 3 ปี อยู่ที่ 5%, 2% และ 2% ตามลำดับ . 2.การปรับเกณฑ์ของ ธปท.ทำให้ลดขั้นตอน และมีความคล่องตัวในการทำธุรกรรมมากขึ้น . 3.การลงทุนทำได้ง่าย เพราะความก้าวหน้าของเทนโนโลยี แม้มีเงินไม่มากก็สามารถลงทุนได้ และค่าธรรมเนียมก็ต่ำกว่าอดีตอย่างมีนัย . ประเมินดูแล้วข้อแรกดูจะเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุด เพราะนักลงทุนเริ่มมีความรู้มากขึ้นและแสวงหาผลตอบแทนที่ดีกว่า โดยเฉพาะหุ้นที่เป็นเมกะเทรนด์ในปัจจุบัน ซึ่งตลาดหุ้นไทยมีหุ้นกลุ่มนี้น้อยมาก ส่วนใหญ่ยังเป็นอุตสาหกรรมเก่า . สถิติเหล่านี้บ่งชี้ว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนภาคธุรกิจไทยอย่างจริงจัง โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เพราะธุรกิจที่เป็นเมกะเทรนด์จะดึงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าประเทศ . แต่หากยังยึกยัก ติดขัดหลายสิ่ง หลายประการ แถมไร้การสนับสนุนอย่างจริงจังในเชิงปฏิบัติ พอเอกชนทำกันเองก็ไปขัดแข้ง ขัดขาเขา ผลเสียคือ นอกจากเงินจากนักลงทุนต่างชาติจะเข้ามาจำกัดแล้ว เงินจากนักลงทุนในประเทศก็จะไหลออกอย่างต่อเนื่องเช่นกัน



6 views0 comments
bottom of page