top of page

รัฐบาลใหม่มาแว้วว เตรียมรับมือชีวิตดี๊ดีย์



รัฐบาลใหม่มาแว้วว เตรียมรับมือชีวิตดี๊ดีย์ #นโยบายใช้ผลักดันเศรษฐกิจแต่ถ้าน้องรักคนผิดวิกฤตจะมาเยือน

ในที่สุดเราก็มีรัฐบาลอย่างเป็นทางการเรียบร้อยนะฮะ (มีรัฐมนตรีคดียาเสพติดมาโด้ยยย เวรี่คูลลล แต่ช่างมันเพราะทำไรไม่ได้) คาดว่าปลายเดือนนี้ หรือ ต้นส.ค. คงได้เริ่มทำงานกันจริงจังเสียที หลังจากก่อนหน้านี้มัวแต่ตบตีแย่งชิงเก้าอี้กันแบบ..วุ่นวายหนักมาก

ต่อจากนี้ หลายฝ่าย หลายสำนักก็คาดการณ์กันไว้ว่า เศรษฐกิจจะเริ่มกลับมาคึกคัก การลงทุนมา เงินทุนไหลเข้า เครดิตเรทติ้งพุ่ง ท่องเที่ยวฟื้น บริโภคดี รากหญ้าดี๊ด๊า จากการผลักดันนโยบายกระตุ้นอย่างเต็มที่ แต่ทั้งหมดยังคงเป็นการคาดการณ์ ต้องรอดูกันต่อไปนะฮะ ว่าจะดีมากน้อยแค่ไหน

ทั้งนี้เพื่อกันลืม #เสี่ยวCREW เอานโยบายมาให้ดูกันอีกครั้งจ้า 1. มารดาประชารัฐ 181,000 บาท/คน ท้องรับเงินเดือนละ 3,000 บาท 9 เดือน / ค่าคลอดบุตร 10,000 บาท / ค่าเลี้ยงดูบุตรเดือนละ 2,000 บาทจนถึงอายุ 6 ปี 2. ประกันราคาสินค้าเกษตร ข้าวเจ้า 12,000 บาทต่อตัน / ข้าวหอมมะลิ 18,000 บาทต่อตัน / ยางพารา 65 บาทต่อกิโลกรัม / อ้อย 1,000 บาทต่อตัน / ปาล์ม 5 บาทต่อกิโลกรัม / มันสำปะหลัง 3 บาทต่อกิโลกรัม 3. เพิ่มค่าแรง ค่าแรงขั้นต่ำ 400-425 บาทต่อวัน / อาชีวะเงินเดือน 18,000 บาท / ปริญญาตรี เงินเดือน 20,000 บาท (ค่าแรงขั้นต่ำตอนนี้ชะลอไปก่อนนะครับ) 4. สานต่อบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 5. เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 1,000 บาทต่อเดือน 6. พักหนี้กองทุนหมู่บ้าน 4 ปี 7. ตั้งกองทุนประชารัฐ หมู่บ้านละ 2 ล้านบาท 8. ลดภาษีบุคคลธรรมดา 10 ปี 9. ยกเว้นภาษีการค้าออนไลน์ 2 ปี 10. ขยายเวลาเกษียณอายุราชการเป็น 63 ปี

บทวิเคราะห์ บล.เอเซีย พลัส (ASPS) เปิดเผยว่า รัฐบาลจะเดินหน้าสานต่อนโยบายต่างๆที่เคยหาเสียงไว้ก่อนหน้า โดยเฉพาะนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ กระตุ้นการบริโภคครัวเรือน โดย ASPS แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ

นโยบายที่ส่งผลในระยะสั้น: เชื่อว่าจะเริ่มจากการต่อยอดบัตรสวัสดิการผู้มีรายได้น้อยให้ครอบคลุมทั้งจำนวนหรือ วงเงิน และสิทธิประโยชน์ จากปัจจุบันที่ให้เงิน 300-500 บาท/เดือน จนถึงสิ้นปี, การลดภาษีกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย อาทิ ช็อปช่วยชาติ เป็นต้น และมาตรการสวัสดิการอื่นๆ เช่น มารดาประชารัฐ (อุดหนุนค่าคลอดและค่าดูแลบุตร), การเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ, ผู้พิการ, ผู้ยากไร้ เป็นต้น

นโยบายที่จะส่งผลในระยะกลาง: คาดว่าการประกันราคาสินค้าเกษตร เช่น ยางพารา, อ้อย, ข้าว, มันสำปะหลัง, ปาล์ม เป็นต้น

นโยบายที่จะส่งผลในระยะยาว: มาตรการปฎิรูประบบภาษี (กำลังพิจารณา) คาดว่า คือ การลดภาษีบุคคลธรรมดาลง10%, การลดภาษีสำหรับผู้ขายสินค้าออนไลน์ เป็นต้น เนื่องจากการปฎิรูปภาษีจะส่งผลให้รายได้ภาษีของรัฐลดลง ซึ่งอาจกระทบต่องบประมาณปี 2563 ให้ขาดดุลมากขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงให้งบประมาณปี 2563 อาจล่าช้ากว่าเดิม จึงมองว่าการปฎิรูปภาษีเป็นในเชิงระยะยาว

โดยรวมเชื่อว่านโยบายที่ภาครัฐจะนำมาใช้เป็นอันดับๆแรก จะเป็นนโยบายที่สามารถทำได้ในระยะสั้นอาทิ การต่อยอดโครงการบัตรสวัสดิการแห่ง การลดภาษีเพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย ซึ่งคาดว่านโยบายดังกล่าวจะเพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชน และดีต่อหุ้นค้าปลีก

0 views0 comments
bottom of page