top of page

วัคซีนเอสเอ็มอี เมื่อไหร่มา



วัคซีนเอสเอ็มอี เมื่อไหร่มา #ฉีดวัคซีนไว้ป้องกันโควิดแต่ความรักเป็นพิษจะป้องกันยังไง #ข่าวดีในข่าวร้าย #SMEs

ข่าวดีโฮกสำหรับวันนี้ “วัคซีนโควิด-19” ใกล้เป็นจริงเข้าไปทุกที (มั้ง) เมกา & เยมัน ออกตัวแรง ประกาศ!! วัคซีนข้าเสร็จแล้ว ภายในปีนี้เตรียมจดทะเบียนและเริ่มผลิต พี่หมีรัสเซียยอมไม่ได้ ระบุของข้าก็มี!! แถมเจ๋งกว่าของพวกเอ็งอีก ปีนี้ผลิตเหมือนกัน ส่วนพี่จีนเงียบๆ ซุ่มๆ ไม่มีท่าทีใดเกี่ยวกับเรื่องนี้

ไม่ว่าใครจะผลิตได้...ก็ดีทั้งนั้นแหล่ะฮะ

หากไม่เชื่อให้หันไปดูความเบิกบานของหมู่มวลมนุษยชาติภาคการลงทุน ตอบรับข่าวดีนี้ด้วยการเทรดสนั่น ตลาดหุ้นบวกทั่วโลก หุ้นบิ๊กแคปมากันเกือบยกแผง ด้วยความคาดหวังที่ว่า เมื่อมี “วัคซีนโควิด-19” ภาคธุรกิจต่างๆที่กำลังบาดเจ็บ หรือ เกือบล้มตาย จะค่อยๆฟื้นคืนสู่สภาพปกติ

ก็ดีนะหากเป็นเช่นนั้น ทุกคนจะได้ประเมินสถานการณ์กันได้ชัดเจน และเตรียมความพร้อมสำหรับการไปต่อ ซึ่งเราเชื่อว่าธุรกิจขนาดใหญ่ส่วนมากน่าจะไปกันรอด เพราะความได้เปรียบของการเข้าถึงแหล่งทุน / ทรัพยากร สินทรัพย์ต่างๆในมือ / นโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจขนาดใหญ่

ส่วนกลุ่มที่ยังน่าเป็นห่วงและอาจไม่ฟื้นกลับมา ได้แก่ ธุรกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก หรือ SMEs จำนวนมากกก ที่บอกอย่างนั้นเพราะกลุ่มนี้บอบช้ำหนัก ตั้งแต่มีการแพร่ระบาดจนถึงปัจจุบันทำให้ สภาพคล่อง กระแสเงินสด หดหายไปเรื่อยๆ จนตอนนี้หลายรายตายไปแล้วล่ะ

หลายรายที่ยังไม่ตายก็ตกอยู่ในสภาพ “ไม่มีตังค์ ไม่มีแหล่งทุน มีหนี้เก่าเป็นเจ้ากรรมนายเวร” แม้จะมีแผน มีอะไรที่มั่นใจว่าทำแล้วรอด แต่โอกาสคงมีไม่มากนัก เพราะ.....

• ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เอสเอ็มอีส่วนใหญ่ ไม่ได้รับสินเชื่อสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ เนื่องจากฐานะทางการเงินไม่ผ่านเกณฑ์ความเสี่ยง • แม้ยอดสินเชื่อธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบจะเติบโตสูงสุดในรอบ 5 ปีอยู่ที่ 5.1% (ณ สิ้นไตรมาส2/63) แต่สินเชื่อส่วนใหญ่ถูกจัดให้ธุรกิจขนาดใหญ่ ที่มีวงเงินกู้มากกว่า 500 ล้านบาท โดยมียอดเติบโต 13.1% • ส่วนสินเชื่อธุรกิจที่มีวงเงินกู้ต่ำกว่า 500 ล้านบาท ลดลง -3.5% และสินเชื่อธุรกิจที่มีวงเงินต่ำกว่า 20 ล้านบาท ลดลง -4.6% • สินเชื่อธุรกิจส่วนใหญ่ถูกกระจายอยู่ในกลุ่มธุรกิจบริการ / ก่อสร้าง / สาธารณูปโภคและขนส่ง / อสังหาริมทรัพย์ ส่วนกลุ่มธุรกิจการผลิต / การค้า สินเชื่อหดตัว • สาเหตุที่ธนาคารพาณิชย์ไม่ให้สินเชื่อกับธุรกิจขนาดเล็กเพิ่ม เนื่องจากเสี่ยงสูง ประเมินฐานะการเงินไม่ผ่านเกณฑ์ ความไม่แน่นอนของสภาพการทำธุรกิจ น่าจะทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ไหว • นอกจากนี้หากดูสถิติ 4 ปีย้อนหลัง สินเชื่อเอสเอ็มอีมีความเสี่ยงเป็นเอ็นพีแอลสูงถึง 6.1% ขณะที่ธุรกิจขนาดใหญ่เป็นเอ็นพีแอลอยู่ที่ 2.1%

วัคซีนโควิด-19 จะมาแล้ว ตอนนี้รอดู “วัคซีนเอสเอ็มอี” จะมาไวแค่ไหน บอกเลยคงต้องใช้ขนานใหญ่ ออกฤทธิ์รุนแรง ยิ่งปล่อยให้นานคงเกิดคลื่นยักษ์ที่กระทบหนักไม่น้อย อาทิ หนี้เสีย ว่างงาน กำลังซื้อ การบริโภค การจัดเก็บภาษี ทุกอย่างน่าจะเจริญลงฮวบๆ ดังนั้นให้ไวฮะ เร่งมือด้านนโยบายหน่อย หรือจะปล่อยให้ตายก็แล้วแต่!!

ข้อมูลจาก: ธนาคารแห่งประเทศไทย

1 view0 comments
bottom of page