top of page

สตาร์ทอัพไทย ทำไมต้อง"Tech"วะ ปัดโธ่ว!!



สตาร์ทอัพไทย ทำไมต้อง"Tech"วะ ปัดโธ่ว!!

#เรื่องเทคสตาร์ทอัพใครๆก็สนใจแต่เรื่องห่วงใยผมมีให้เฉพาะคุณ #หาเทคสตาร์ทอัพทำระบบให้สภา #ฝุ่นลอยมาอย่าดราม่าทำเลือดไหล

"Tech Startup" กลายเป็นคำนิยามของวงการธุรกิจสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จทั่วโลก อาทิ FinTech, InsurTech, EdTech ซึ่งถ้าธุรกิจสตาร์ทอัพรายใดเกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีก็มีโอกาสแจ้งเกิดเข้าข่าย Unicorn (ยูนิคอร์น) เติบโตเป็นมูลค่ามหาศาลในระยะเวลาอันสั้น...แต่ดูเหมือนว่าวันนี้ประเทศไทยมีความเลือนลางการเกิดขึ้นของ "ยูนิคอร์น"

ทำให้บุคคลชั้นนำในวงการสตาร์ทอัพหลายรายมองเป็นคำถาม "แทงใจดำ" แต่ก็ยังแอบมีความหวังกับโอกาสเห็นยูนิคอร์นสัญชาติไทยเกิดขึ้นในกลุ่มธุรกิจนวัตกรรมและเทคโนโลยี

เมื่อเหรียญยังมี 2 ด้าน เราลองย้อนมองในมุมที่แตกต่างออกไป...ด้วยคำถาม ว่า ทำไมสตาร์ทอัพเมืองไทยที่จะมีโอกาสประสบความสำเร็จ ต้องอยู่ในกรอบของคำว่าธุรกิจเทคโนโลยีเท่านั้น ?? (เออนั่นดิ บ้านเรามันไม่ได้เก่งเทคโนโลยีไรขนาดนั้น แอบคิดดังแล้วลั่น)

สมมติว่าคุณเป็นนักลงทุนต่างชาติ อยากมีหนึ่งบริษัทที่เป็นสตาร์ทอัพในเมืองไทย คุณอยากถือหุ้นบริษัทอะไร ?? คำตอบคงหนีไม่พ้นธุรกิจที่เป็นจุดแข็งของประเทศอันดับต้นๆ คือ ธุรกิจเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว กิจกรรมการเกษตร อาหาร และอีกมากมาย...

หนึ่งในแนวคิดของผู้ลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพ ได้ให้ข้อคิดบางอย่างกับ #เสี่ยวCREW ว่า ผู้ที่อยากลงทุนในสตาร์ทอัพควรยึดหลัก "โมเดลธุรกิจ" เป็นสิ่งสำคัญที่สุด แม้ว่าธุรกิจสตาร์ทอัพรายนั้นจะเน้นกระจายสินค้าหรือบริการแบบเข้าถึง B2C เป็นฐานกลุ่มผู้บริโภคขนาดใหญ่ มีโอกาสสร้างฐานรายได้มหาศาล หรือจะเป็นรูปแบบ B2B ซื้อขายตรงกับผู้ประกอบการทำให้มีความเสี่ยงต่ำกว่า เพราะมีรายได้และความต้องการเข้ามาสม่ำเสมอ

โคตรสำคัญสุดๆยิ่งกว่ากลุ่มเป้าหมาย คือ สินค้าหรือบริการของบรรดาสตาร์ทอัพรายนั้น ต้องสามารถเข้ามาแก้ไขปัญหา สร้างความแตกต่างได้หรือไม่ และปัญหานั้นใหญ่มากพอถึงขั้นให้ผู้ประกอบการหรือผู้บริโภคตัดสินใจยอมควักเงินให้กับคุณหรือไม่...แค่นั้นเอง!!

ขอยกตัวอย่างกรณีที่เราต้องการนำ "ภาพ" หนึ่งภาพขึ้นไปแขวนอยู่บนผนัง เชื่อว่าคนส่วนใหญ่เกือบ 90% ต้องใช้วิธีแก้ไขปัญหาด้วยการออกจากบ้านไปซื้อค้อนกับตะปู สว่านกับน๊อต เพื่อเจาะยึดนำภาพนั้นแขวนผนัง แต่ถ้าใช้อีกหนึ่งวิธีที่ง่ายขึ้นมาคือ ซื้อกาว 3M ติดกับภาพแปะบนผนังก็แก้ไขปัญหาได้เหมือนกัน ซึ่งก็มีอีกหนึ่งคำตอบที่อาจคาดไม่ถึงคือใช้ "โปรเจคเตอร์" ฉายภาพขึ้นไปบนผนังก็สามารถแก้ไขปัญหาได้อีกเหมือนกัน เรื่องนี้สะท้อนว่าปัญหาเดียวกัน แต่วิธีแก้ไขปัญหากลับแตกต่างกันไป ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน

แล้ววันนี้คุณคิดว่าสตาร์ทอัพเมืองไทยที่มีโอกาสประสบความสำเร็จ ควรมีโมเดลธุรกิจอย่างไร "Tech Startup" หรือ "Touch Startup" กันแน่ฮะ...

0 views0 comments
bottom of page