top of page

เทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้น กระทบชีวิต & เศรษฐกิจแค่ไหน



เทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้น กระทบชีวิต & เศรษฐกิจแค่ไหน #ดอกเบี้ยกระทบต้นทุนคิดถึงคุณกระทบหัวใจ

อัตราดอกเบี้ยนโยบายประกาศปรับขึ้นอย่างเป็นทางการมาอยู่ที่ 2% เป็นที่เรียบร้อย เมื่อสิ้นเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา และคาดว่าในปีนี้มีโอกาสปรับขึ้นไปอยู่ที่ 2.5% ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจต่อจากนี้ว่าจะสามารถขยายตัวได้ดีมากน้อยแค่ไหน . การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายครั้งล่าสุด ก็ทำให้แบงก์พาณิชย์ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้ขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเงินฝากเรทการปรับขึ้นอยู่ระหว่าง 0.05-0.50 % ต่อปี ขณะที่เงินกู้เรทการปรับขึ้นอยู่ระหว่าง 0.20-0.25% . สำหรับใครที่มีเงินฝากก็ยินดีด้วยเบาๆ นะครับ ผลตอบแทนขยับขึ้นมาหน่อย ส่วนใครที่มีเงินกู้ !! ก็เตรียมตัวครับ เพราะต้นทุนทางการเงินจะสูงขึ้นทันที สำหรับกลุ่มคนระดับกลางที่มีรายได้เพียงพอรายจ่าย ความเดือดร้อนจะค่อยๆ ทยอยมาให้ท่านสัมผัสได้ . อันดับแรก ยอดหนี้ของทุกท่านจะเพิ่มขึ้นแน่นอน ตามอัตราดอกเบี้ยที่ถูกปรับและทบเข้าไป ซึ่งจะทำให้ค่างวดที่จ่ายอยู่สำหรับการผ่อนบ้าน ผ่อนสินเชื่อ ที่กู้มา ทำสัญญาไปแล้ว ทยอยปรับเพิ่มขึ้นในแต่ละงวด . แต่หากไม่เพิ่ม ค่างวดจ่ายเท่าเดิม ก็จะทำให้เป็นหนี้นานขึ้น ผ่อนยาวๆ ให้โลกลืม จะเป็นรูปแบบไหนคงขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละแบงก์ อันนี้ขอความกรุณาวางแผนการผ่อนชำระกันให้ดีต่อไปครับ . ส่วนในภาพรวมของเศรษฐกิจ นักเศรษฐศาสตร์หลายๆ ท่าน แสดงความกังวลเกี่ยวกับเทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ . 1. หนี้เสียมีโอกาสเพิ่ม ในกลุ่มลูกค้าธนาคารที่ธุรกิจหรือรายได้ยังไม่ฟื้นตัว เนื่องจากที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวแบบไม่ทั่วถึง โตเฉพาะบางภาคธุรกิจเท่านั้น ทำให้กลุ่มลูกค้าที่มีความเปราะบางของฐานะการเงิน ทั้งภาคธุรกิจและครัวเรือนยังมีอยู่จำนวนมาก . 2. กำลังซื้อภาคครัวเรือนลดลง จากภาระที่สูงขึ้นในการผ่อนชำระหนี้ ระยะเวลาเป็นหนี้ที่นานขึ้น . 3. การชะลอลงทุนของธุรกิจขนาดกลาง-เล็ก ต้นทุนทางการเงินที่ปรับสูงขึ้น สภาพธุรกิจ เศรษฐกิจ ยังไม่เอื้อต่อการแบกรับต้นทุนเพิ่ม อีกทั้งสถานะทางการเงินอาจยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะขอสินเชื่อใหม่ . 4. การกระตุ้นเศรษฐกิจทำได้ยากขึ้น ตามการชะลอของการจับจ่าย ต้นทุนที่สูง และความพร้อมในการขอสินเชื่อใหม่ อีกทั้งเศรษฐกิจโลกในปีนี้ชะลอตัวค่อนข้างมาก ส่งผลให้ความต้องการสินค้าและบริการลดลง เม็ดเงินที่จะเข้ามาจากภาคธุรกิจอื่นๆ ที่นอกเหนือจากท่องเที่ยวจึงหดตัวเช่นกัน . ดอกเบี้ยนโยบาย คืออะไร ? . คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางของแต่ละประเทศ ใช้เพื่อกำหนดนโยบายการเงินของชาติ โดยจะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่ง “กู้ยืม” จากเงินสำรองที่ฝากไว้กับธนาคารกลางของแต่ละประเทศ ในประเทศไทย คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อนำไปรักษาปริมาณเงินทุนสำรองของตัวเองไม่ให้ต่ำกว่าที่กำหนด . เมื่องแบงก์พาณิชย์กู้ยืมจากแบงก์ชาติมาแล้วมีดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ก็ต้องมีการปรับอัตราดอกเบี้ยต่อกับลูกค้า เพื่อให้สอดรับกับต้นทุนทางการเงินของตัวเอง

3 views0 comments
bottom of page