เลือกตั้ง!! โปรดระวังความเสี่ยง

เลือกตั้ง!! โปรดระวังความเสี่ยง #ปฏิบัติหน้าที่ดีกว่าทุกพรรคโปรดเลือกผมเป็นที่รักในใจคุณ
#เลือกตั้ง กำลังจะมาความคาดหวังมากมายถูกฝากไว้ ปากท้องดีขึ้น นโยบายเศรษฐกิจเดินหน้า การลงทุนกระเตื้อง การปกครองเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ฯลฯ
ภาพตัดมาที่สถานการณ์ปัจจุบัน แต่ละพรรคเดินสายโชว์ความเทพ ความดี ความพร้อมทำหน้าที่เพื่อประชาชนอย่างไม่หยุดหย่อน (เข้ามาแล้วเป็นไงล่ะ..ที่ผ่านมาก็เห็นๆกันอยู่เนาะ) นอกจากนี้เกมส์ปากดี สาดโคลน กลการเมือง ก็ยังปะทุขึ้นเป็นระยะๆไม่ขาดสาย ทั้งจากผู้สมัครด้วยกันเองและจากผู้กำกับดูแล จัดว่าเป็นเลือกตั้งที่มันส์หยดและแปลกประหลาดที่สุดในประวิติศาสตร์ชาติก็ว่าได้
“ไม่คาดหวังไม่ผิดหวัง” อาจเป็นนิยามที่เหมาะเจาะกับการเลือกตั้งครั้งนี้ #เสี่ยวCREW ได้เสวนากับกูรูทั้งหลายเลยอยากเอามาฝาก อาการมันเป็นยังไงมาดูกัน

แหล่งข่าวจากดาวแอสการ์ด แม้การเลือกตั้งในประเทศจะสร้าง Sentiment เชิงบวกหลายเรื่อง เพราะประชาชนต้องการความเปลี่ยนแปลง แต่หากมองในแง่โครงสร้างจะยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยในระยะสั้น เพราะเป้าหมายแรกของพรรคที่เข้ามาเป็นรัฐบาล (หากไม่ใช่ พปชร.) จะมุ่งเน้นการแก้รัฐธรรมนูญมากกว่าเศรษฐกิจ ดีไม่ดีอาจจะทำให้นโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่างๆ ชะงักลงด้วยซ้ำ
เท่าที่ได้คุยกับนักลงทุนต่างชาติ ตอนนี้ต่างชะลอลงทุนในไทย เพราะรอดูผลการเลือกตั้งก่อน หลังจากนั้นจะรอดูว่าจะมีความขัดแย้งใดเกิดขึ้นหรือไม่หากผลการเลือกตั้งค้านสายตาประชาชน รวมไปถึงนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่
“ในแง่โครงสร้างทางเศรษฐกิจคงไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด เพราะพื้นฐานของประเทศไทยยังพึ่งพาอุตสาหกรรมเดิมๆ เช่น ส่งออก ท่องเที่ยว และการลงทุนของเอกชน ตอนนี้ทุกคนกำลังมองบวกเกี่ยวกับการเลือกตั้งเกินไป จนอาจจะติดกับดักทางความคิดได้ เป้าหมายของนักการเมืองที่ไม่ใช่ทหาร คือ การแก้รัฐธรรมนูญเป็นอันดับแรก แต่หาก พปรช.ได้รับเลือกตั้ง อาจจะมีความขัดแย้งเกิดขึ้นก็ได้ อันนี้เป็นความเสี่ยงสำคัญมาก”

พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการและหัวหน้าทีมวิจัยลูกค้าบุคคล บล.ภัทร การเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นมีความเสี่ยงที่น่ากังวล เพราะมีความไม่แน่นอนของผลการเลือกตั้งจากกฎกติกาใหม่ ดังนี้
1. เลือกตั้งครั้งนี้นำระบบเลือกตั้งจัดสรรปันส่วนผสม (Mixed Member Apportionment System : MMA) เป็นประเทศเดียวในโลก ทำให้อาจไม่มีพรรคใหญ่ที่ได้เสียงข้างมาก แม้ไม่ชนะ หรือได้คะแนนเสียง 20% ก็เป็นรัฐบาลผสมได้ แต่ความ เข้มแข็งรัฐบาลเปลี่ยนไป
2. กฎกติกาการเลือกตั้งสร้างความไม่แน่นอนในการเลือกนายกรัฐมนตรี ที่ให้สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ร่วมโหวตด้วย ทำให้แค่ผลเลือกตั้งก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าใครจัดตั้งรัฐบาล ต้องรอผลการโหวตจาก สว. 250 คน ที่ คสช.เลือกมา เป็นผู้ชี้ชะตาที่จะได้เสียงเกิน 375 เสียง จากจำนวน สส.และ สว. รวมกัน 500 เสียง
3. เลือกตั้งครั้งนี้เป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี และมีคนรุ่นใหม่ที่มีสิทธิได้เลือกตั้งครั้งแรก 5-6 ล้านคน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ 50-60 ล้านคน ซึ่งการที่มีสัดส่วนคนรุ่นใหม่มาก ทำให้คาดเดาผลการเลือกตั้งยาก
"ไทม์ไลน์จะมีเลือกตั้ง 24 มี.ค. ไม่รู้ผลจนกว่า 9 พ.ค. คาดว่าประชุมสภาได้กลาง พ.ค. ซึ่งจะไม่ได้เห็นรัฐบาลใหม่จนสิ้นเดือน พ.ค. ช่องว่าง 2 เดือน นักลงทุนและผู้บริโภคต้องรอดูสถานการณ์ ทำให้โมเมนตัมเศรษฐกิจครึ่งปีแรกชะลอตัวลง ส่วนครึ่งปีหลังต้องดูว่าการเลือกตั้งจะสงบ ส่งผ่านประชาธิปไตย ด้วยความเรียบร้อย และคนส่วนใหญ่ยอมรับหรือไม่ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญต่อแนวโน้มเศรษฐกิจปีนี้"
ทั้งนี้มองว่า เศรษฐกิจจะชะลอลงจาก 4.2-4.3% เป็น 3.7% เพราะเครื่องจักรที่ขับเคลื่อนปีที่แล้ว ทั้งการส่งออก ท่องเที่ยว ยอดขายรถยนต์ ปีนี้มีสัญญาณชะลอตัว

ไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO)
จากการพูดคุยกับนักลงทุนต่างชาติ มีการชะลอการลงทุนเพื่อรอดูความชัดเจนหลังการเลือกตั้งก่อน ซึ่งหากเขายังดูไม่ออกว่าจะไปในทิศทางไหนก็เชื่อว่าจะยังไม่มีการเข้ามาลงทุนเพิ่มเติม ขณะเดียวกันต่างชาติมองเรื่องเสถียรภาพของรัฐบาลชุดใหม่เป็นสำคัญ และกังวลเรื่องความขัดแย้ง หากผลการเลือกตั้งผิดไปจากความคาดหวังของประชาชน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยตรงและรุนแรง
สรุป: ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิด ทำมาหากินกันต่อไปอย่างจริงจัง รับผิดชอบหน้าที่ตัวเองให้ดีที่สุด และอย่าลืมใส่ใจระมัดระวังผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจด้วยนะจ๊ะ ด้วยรักและปารถนาดี