top of page

โตเกียวโอลิมปิก ฝันดีหรือฝันร้าย ? ของเศรษฐกิจ-การลงทุนในญี่ปุ่น



โตเกียวโอลิมปิก ฝันดีหรือฝันร้าย ? ของเศรษฐกิจ-การลงทุนในญี่ปุ่น #โอลิมปิกอาจไม่ปังเพราะโควิด #รักเป็นพิษเพราะล็อกดาวน์จึงห่างไกล

เริ่มต้นขึ้นแล้วอย่างเป็นทางการกับงานมหกรรมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 32 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ 23 ก.ค. - 8 ส.ค. 64 ภายหลังจากเลื่อนมาแล้วกว่า 1 ปี ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงลุกลามสร้างความเสียหายให้กับหลายประเทศทั่วโลก . ในอดีตการจัดงานโอลิมปิกเคยสร้างโอกาสสนับสนุนรายได้เข้าประเทศญี่ปุ่นเป็นมูลค่ามหาศาล ในปี ค.ศ.1964 ผลักดันขนาดเศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นก้าวขึ้นเป็นอันดับ 4 ของโลก แต่การจัดงานโอลิมปิกครั้งนี้ไม่ใช่!! แต่ดันสร้างความเสียหาย ซ้ำเติม เศรษฐกิจญี่ปุ่น จากความบอบช้ำของผลกระทบโควิด-19 ระลอกใหม่ . ส่วนหนึ่งมาจากการใช้เงินลงทุนที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับต้นๆในประวัติศาสตร์โอลิมปิก และเมื่อรวมถึงค่าใช้จ่ายในการเลื่อนการแข่งขันเป็นระยะเวลา 1 ปี จะเป็นวงเงินลงทุนสูงกว่า 15.4 พันล้านดอลลาร์ฯ เมื่อเทียบกับการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาวเมืองโซซิ ที่รัสเซียปี 57 ที่มีต้นทุนการจัดงานสูงสุดเป็นอันดับ 1 ถึง 50 พันล้านดอลลาร์ฯ ส่งผลให้ญี่ปุ่นต้องรับภาระขาดทุนอย่างหนักจากการจัดงานนี้ . ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า การจัดงานมหกรรมกีฬาโลกครั้งนี้ ไม่ช่วยเพิ่มการขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นได้ ขณะเดียวกันยังเป็นการสร้างภาระหนี้ที่มาจากการลงทุนมหาศาลในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งอาจเป็นแรงกดดันต่อเศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นในระยะถัดไป . "เศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 64 คาดว่าจะขยายตัวได้ 2.6% ด้วยแรงขับเคลื่อนภาคการส่งออก โดยเฉพาะตลาดจีน-สหรัฐฯ และอานิสงส์จากฐานที่ต่ำสุดในรอบทศวรรษในปี 63 เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวถึง 4.8% ขณะที่การระบาดของโควิด-19 กลายเป็นแรงกดดันสำคัญ ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีโอกาสเติบโตต่ำกว่าที่คาด ถ้าหากหลังสิ้นสุดการแข่งขันโอลิมปิกยังไม่สามารถดึงยอดผู้ติดเชื้อให้ลดลงมาได้"ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุ . ด้านความคิดเห็นเชิงบวกที่มีต่อประเทศญี่ปุ่น บลจ.วรรณ ระบุว่า แม้ตลอดทศวรรษที่ผ่านมาประชากรญี่ปุ่นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ส่งผลให้กำลังซื้อภายในชะลอลง หุ้นญี่ปุ่นในช่วงที่ผ่านมากว่า 3 ทศวรรษ จึงขาดเสน่ห์ไม่ค่อยมีนักลงทุนพูดถึงมากนัก ด้วยภาพรวมมองว่าอัตราการเติบโตของรายได้หรือกำไรบริษัทจดทะเบียนค่อนข้างต่ำ . แต่ญี่ปุ่นในทศวรรษใหม่นี้น่าจับตามอง เพราะญี่ปุ่นได้มีการเปลี่ยนแปลงนายกรัฐมนตรีในปีที่แล้วจาก นายชินโซะ อาเบะ เป็น นายโยชิฮิเดะ ซูงะ นอกเหนือจากการสานต่อนโยบายอาเบะโนมิกส์ รัฐบาลชุดใหม่ได้นำเสนอแผนฟื้นฟูการเติบโตของญี่ปุ่นผ่านการสนับสนุน Digital Transformation . สะท้อนจากข้อมูลของ OECD เมื่อเทียบกับประเทศชั้นนำอย่างสหรัฐอเมริกาแล้ว ญี่ปุ่นมีการลงทุนด้าน ICT น้อยมากในอดีต โดย OECD แนะนำให้รัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนภาคเอกชนในการลงทุนเครื่องมือด้านดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ อาทิ ระบบ cloud computing . นอกจากนั้น บริษัทญี่ปุ่นยังขึ้นชื่อในอุตสาหกรรม Autonomous โดยเฉพาะเครื่องจักรกลที่ใช้ในโรงงาน เทคโนโลยีเหล่านี้เป็นที่ยอมรับของผู้ผลิตชั้นนำทั่วโลก ขณะที่อีกหนึ่งธีมการลงทุนที่น่าจับตา คือ สินค้าประเภท consumer goods ของญี่ปุ่น ซึ่งมีกระแสตอบรับค่อนข้างดีในตลาดเอเชียที่กำลังขยายตัว อย่างประเทศจีนและกลุ่มอาเซียน . โดยมีแนวโน้มกลับมาเติบโตหลังการเปิดประเทศอีกครั้ง จากภาคการท่องเที่ยวญี่ปุ่นในทศวรรษที่ผ่านมาเป็นหนึ่งในประเทศที่เติบโตได้ค่อนข้างดีก่อนเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19

4 views0 comments
bottom of page