top of page

“1 ล้านล้านไม่พอกู้เพิ่ม 5 แสนล้าน” คนไทยได้อะไรกลับคืนมา ?



“1 ล้านล้านไม่พอกู้เพิ่ม 5 แสนล้าน” คนไทยได้อะไรกลับคืนมา ? #ที่กู้เงินก็เพราะมีวิกฤตที่จีบติดก็เพราะเธอมีใจ

18 เม.ย. 63 รัฐบาลออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท เพื่อ...แก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจ-สังคม ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จนถึงวันนี้ผ่านมาปีกว่าๆแล้วนะครับ แต่หลายๆอย่างดูไม่กระเตื้องไปไหน กลับจะแย่ลงเสียด้วยซ้ำ!!! . #เสี่ยวCREW สำรวจรายละเอียดการใช้จ่ายเงินกู้ก้อนดังกล่าว พบว่า...ณ 25 พ.ค.64 เงินกู้ถูกใช้ไปแล้วกว่า 7.27 แสนล้านบาท ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก คือ... . 1. ช่วยเหลือเยียวยาประชาชนใช้ไปเกือบ 6 แสนล้านบาท เป็นเงินก้อนใหญ่ที่สุดซึ่งกระจายอยู่ในโครงการต่างๆ เช่น การแจกเงินสดโดยตรงให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระลอกแรก รวมถึงแจกวงเงินสำหรับใช้จ่ายผ่าน Wallet ในแอพฯ "เป๋าตังค์" ในระลอกถัดมา ผ่านโครงการ "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" / "เราชนะ" / "เรารักกัน" / โดยหวังว่าการช่วยเหลือประชาชนวิธีนี้จะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศอีกทาง . 2. ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม วงเงิน 3.55 แสนล้านบาท ส่วนนี้ใช้ไปแล้วกว่า 1.38 แสนล้านบาท เป้าหมายเพื่อกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจประคองไม่ให้ GDP หดตัวมากเกินไป เช่น การกระตุ้นอุปโภค-บริโภค และการท่องเที่ยวผ่านโครงการ "คนละครึ่ง" และ "เราเที่ยวด้วยกัน" รวมไปถึงการลงทุนต่าง ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพชุมชนและ SMEs เช่น โครงสร้างพื้นฐานชุมชน, ยกระดับกำลังผลิตภาคเกษตร และช่วยเหลือด้านแรงงาน . 3. ใช้ในงานด้านสาธารณสุข วงเงิน 45,000 ล้านบาท ส่วนนี้ใช้ไปแล้วกว่า 1.91 หมื่นล้านบาท รองรับค่าใช้จ่ายบุคลากรทางการแพทย์ จัดซื้อจัดหาอุปกรณ์การแพทย์และสาธารณสุข วัคซีนป้องกันโรค และห้องปฏิบัติการ รวมถึงแผนงานการรองรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่อการบำบัดรักษาป้องกันควบคุมโรค การเตรียมพร้อมด้านสถานพยาบาล และแผนสาธารณสุขเพื่อรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินจากโควิด-19 . สิริรวมตอนนี้วงเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ใช้ไปแล้วประมาณ 70% ของวงเงินครับ และในแง่ผลลัพธ์ที่ประชาชนได้รับ ประกอบด้วย . 1. การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงเพิ่มขึ้นและมีผู้เสียชีวิตในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง 2. GDP ปี 63 หดตัวต่ำสุดรอบ 22 ปี และยังไม่มีวี่แววว่าจะฟื้น 3. กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักทั้ง อุปโภค-บริโภค การท่องเที่ยว การลงทุน 4. ประชาชนตกงาน อดอยาก หนี้สินล้นพ้นตัว 5. ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นทุกด้านหดตัวแบบระเนระนาด 6. หนี้สาธารณะเพิ่มต่อเนื่องจากการกู้ของรัฐบาล สวนทางกับมูลค่าเศรษฐกิจที่หดตัว . โอ้วมายก็อด พระรอด พระร่วง! ที่จริงการกู้เงินมโหฬารถึง 1 ล้านล้านบาท ควรจะยกระดับการแก้ไขปัญหา และจัดการผลกระทบโควิด-19 ในทุกด้านได้ดีกว่านี้ เร็วกว่านี้ หรือเปล่าครับ ? . อย่างไรก็ตามวันนี้รัฐบาลกำลังจะกู้เพิ่มอีก 5 แสนล้านบาท (ผ่านสภาเรียบร้อยตามคาด) เพราะเงินกู้ก้อนแรกจะหมดแล้ว โดยระบุใน พ.ร.ก. เพื่อนำมาใช้ 3 วัตถุประสงค์ คือ ... . 1. แก้ปัญหาการระบาดโควิด-19 วงเงิน 3 หมื่นล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยารักษาโรค วัคซีน 2. เยียวยาประชาชนทุกสาขาอาชีพ วงเงิน 3 แสนล้านบาท 3. ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม รักษาระดับการจ้างงาน กระตุ้นการบริโภค-ลงทุน วงเงิน 1.7 แสนล้านบาท . ไม่มีอะไรต่างจากวัตถุประสงค์ในการกู้รอบแรก!! . แต่...ถามหน่อยว่า บริหารยังไงให้เงินไม่พอ แถมไม่มีอะไรดีขึ้นเลย . แต่...ถามหน่อยว่า คนไทยจะได้อะไรกลับมาจากการกู้ครั้งนี้ ผลลัพธ์จะห่วยแตกซ้ำรอยเดิมหรือไม่

2 views0 comments
bottom of page