IPO ยุคมหาวิฤติโควิด-19

IPO ยุคมหาวิฤติโควิด-19 #ไอพีโอหลายคนรุมอยากได้แต่ใจผมดันอยากได้เพียงแค่คุณ #ดูดีๆ #ด้วยความห่วงใย
“IPO” (Initial Public Offering) อาจเคยเป็นเรื่องแสนดีและฝันร้ายของหลายคน บางยุค เทรดวันแรกราคาหุ้นพุ่งกระฉูด นักลงทุนพากันอยากได้ใคร่มี บางยุค เทรดวันแรกหลุดจองเป็นว่าเล่น แม้พื้นฐานดีก็ต้านไม่ไหว จนนักลงทุนพากันขยาด คนขายหุ้นเองก็ปวดกบาลมิใช่น้อย ก่อนโควิด-19 จะมาภาพรวมขอหุ้นไอพีโอ กระเตื้องขึ้นเล็กน้อย หลายตัวบวกโชว์ฟอร์มดี แย่หน่อยก็อยู่ปริ่มๆ ไม่หลุดไปไกลนัก
ปีนี้เรามี IPO เข้าเทรดไปแล้วเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นก่อนโควิดเข้าเล่นงาน บมจ.เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น (CRC) ธุรกิจค้าปลีกยักษ์ใหญ่ในเครือเซ็นทรัล มูลค่าระดมทุน 56,127 ล้านบาท มูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO 254,202 ล้านบาท สูงสุดในประวัติศาสตร์ชาตินับตั้งแต่ก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์ฯ
ตัวที่สองกำลังมา บมจ.ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) (STGT) ผู้ผลิตและจำหน่ายถุงมือยางอันดับต้นๆของโลก บริษัทลูกของ บมจ.ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี (STA) ขายไอพีโอเสร็จเรียบร้อยราคา 34 บาท/หุ้น เข้าเทรด 2 ก.ค. 63
#เสี่ยวCREW อยากชวนมาดูอะไรเกี่ยวกับหุ้น IPO โดยรวมกันหน่อย เนื่องจากช่วงนี้เริ่มเห็นข่าวเข้าแถวรอขายหุ้น ระดมทุนกันเยอะพอสมควร
เรื่องแรก: พื้นฐานบริษัท งบการเงินดูให้ดี เพราะมันบอกเราได้ว่าที่ผ่านมาบริษัทนี้สร้างความแข็งแรงของกิจการไว้มากน้อยเพียงใด ลักษณะการทำธุรกิจ ความสามารถในการทำกำไร ก็ต้องดูเช่นกัน เนื่องจากเป็นเครื่องชี้วัดว่าบริษัทที่เรากำลังจะลงทุนนั้น “เก่ง” หรือไม่ แต่ที่ผ่านมาเรามักพบว่า นักลงทุนหลายคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าบริษัททำอะไร กะเก็งกำไรวันแรกจบ ถัดมาคงไม่พ้น วัตถุประสงค์การระดมทุน ส่วนใหญ่มักให้เหตุผลยอดนิยม คือ นำเงินไปลงทุนขยายกิจการ เพิ่มรายได้และผลกำไรในอนาคต นับเป็นประโยชน์กับนักลงทุนที่เปลี่ยนแปลงสภาพเป็นผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนรูปแบบต่างๆ ทั้งเงินปันผลที่เพิ่มขึ้น และส่วนต่างราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้น แต่บางกรณีบริษัทนำเงินระดมทุนส่วนใหญ่ไปใช้หนี้สถาบันการเงิน หรือ แหล่งเงินกู้ยืมต่างๆ ซึ่งหากชำระหนี้แล้วส่งผลให้สถานะการเงินบริษัทมีความแข็งแรงขึ้น ก็ดีไป โตต่อได้ แต่หากชำระหนี้แล้วกลับไม่มีเงินหมุนเวียน เพื่อขยายกิจการต่อก็นับเป็นหนึ่งสัญญาณอันตราย นอกจากนักลงทุนจะขาดทุนจากการลงทุนในหุ้นบริษัทนั้นแล้วคงต้องแบกรับภาระกันไปแบบยาวๆ
เรื่องที่สอง: โควิด-19 เป็นอะไรมากกว่าที่คิด แม้ทุกบริษัทที่ขาย IPO จะมีแผนขยายธุรกิจ มีสัดส่วนการใช้เงินระดมทุนแจ้งไว้อย่างเป็นรูปธรรม แต่มันอาจเป็นไปไม่ได้ หรือ มีโอกาสผิดพลาดมากขึ้นในยุคนี้ เพราะนี่คือยุคที่คาดการณ์อะไรชัดเจนไม่ได้ โควิด-19 พร้อมทำลายทุกอย่าง เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทย ถดถอยอย่างรุนแรงแบบไม่เคยเป็นมาก่อน สะท้อนจากตัวเลข GDP ติดลบหนักในรอบหลายสิบปี จำนวนคนว่างงาน จำนวนธุรกิจปิดกิจการที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ฯลฯ ปัจจัยสำคัญนี้มันอาจทำให้แผนการใช้เงินระดมทุนอันสวยหรู กลายเป็นการนำเงินไปใช้เพื่อเอาชีวิตรอด ประคับประคองธุรกิจมากกว่าที่จะนำไปขยายธุรกิจในภาวะมหาวิกฤติเช่นนี้ แต่ก็ใช่ว่าทุกธุรกิจจะเป็นนะฮะ บางธุรกิจที่ขาย IPO อาจยังแจ๋วอยู่ ซึ่งนั่นคือหน้าที่ของคนลงทุนที่ต้องพิจารณาให้หนักกว่าเดิม
เรื่องที่สาม: ของโคตรดี ตอนมาขายหุ้นก็อยากได้เงินระดมทุนแหล่ะเนาะ เหตุผลดีๆ ความมั่นใจในการเติบโต การแก้ปัญหาต่างๆ จากเจ้าของกิจการ ที่ปรึกษาทางการเงิน มันก็จะมาเต็มหน่อย มองตรงไหน ติดอะไรก็แก้ได้หมด สรุปคือหุ้นเรา “ดี” อ่ะ ไปไหนคนก็ต้องการซื้อเยอะมากก ต่างชาติสนใจเพียบบ โอยยยดีแบบไม่ไหวแล้ว (นี่ยังไม่นับคนเชียร์ตามสื่อต่างๆอีกนะ) พอเข้าไปเทรดสักระยะกิจการเกิดสะดุด มีปัญหา กำไรลดลง บางรายขาดทุน แผนไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ปรากฎว่าเงียบเว้ย!! หายแฮะ ไม่ยอมบอกว่าเป็นไร แก้อย่างไร ไม่มั่นใจเหมือนตอนมาขายเลยย นักลงทุนทำไงอ่ะทีนี้ งงก็งง หุ้นก็ติด บอกไรให้เคลียร์สักนิดก็ไม่มี (คนเชียร์ที่เคยเชียร์มากๆก็มาออกข่าวรุมให้ดูแย่ไปอีก) เหตุการณ์ประมาณนี้เกิดตลอดนะฮะ และมันเป็นเรื่องยากที่นักลงทุนจะควบคุม เนื่องจากมันเป็นสำนึกและวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่ต้องปฏิบัติ
ทีนี้เรามาดูความเห็นจาก ที่ปรึกษาการเงินระดับเซียนของเมืองไทยกันบ้างฮะ “บรรยากาศลงทุนในตลาดหุ้นที่ยังไร้ความแน่นอน มีผลกระทบต่อความความเชื่อมั่นผู้ลงทุน ดังนั้นการนำเสนอขายหุ้นไอพีโอต้องวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆรอบด้าน โดยสิ่งที่คำนึงถึงมากที่สุด คือคุณภาพของบริษัท!! ในมิติแนวโน้มเติบโตในอนาคต สอดคล้องกับราคาขายไอพีโอที่เหมาะสม บางจังหวะอาจจำเป็นต้องมีส่วนลด หรือ Discount ราคาขาย เพื่อให้ผู้ลงทุนเห็นโอกาสลงทุนหุ้นไอพีโอในต้นทุนที่ต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน เพราะไม่เช่นนั้นหากแผนระดมทุนเกิดปัญหาก็อาจสร้างผลเสียหายให้กับแผนการใช้เงินของบริษัทที่เข้ามาระดมทุนได้เช่นกัน เช่น แผนชำระหนี้ เป็นต้น แม้ปีนี้ฝ่ายบริหารตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งเป้ามูลค่าหลักทรัพย์ใหม่ไม่ต่ำกว่า 5.5 แสนล้านบาทมากกว่าปี62 ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO อยู่ที่ 383,749 ล้านบาท แต่ด้วยบรรยากาศลงทุนที่ไม่สดใส นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ดังนั้นโอกาสที่ตลาดหลักทรัพย์ฯจะผลักดันมูลค่าหลักทรัพย์ใหม่ให้ได้ตามเป้า...คงเกิดขึ้นได้ยาก” สำหรับหุ้นไอพีโอที่ได้รับการอนุมัติแบบไฟลิ่งจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รวม 28 บริษัทที่เตรียมเข้าจดทะเบียนทั้งในตลาด SET และ mai โดยพบว่ามี 6 บริษัทที่เป็นบริษัทลูกของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET) ประกอบด้วย 1. บมจ.ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก (OR) เป็นบริษัทลูก บมจ.ปตท. (PTT) 2. บมจ.เอสซีจี แพคเกจจิ้ง (SCGP) เป็นบริษัทลูก บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) 3. บมจ.ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) (STGT) เป็นบริษัทลูก บมจ.ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี (STA) 4. บมจ.สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ (SAV) เป็นบริษัทลูก บมจ.สามารถคอร์ปอเรชั่น (SAMART) 5. บมจ.เอิร์ธ เท็ค เอนไวรอนเมนท์ (ETC) เป็นบริษัทลูก บมจ.เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน (BWG) 6. บมจ.เน็คซ์ แคปปิตอล (NCAP) เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง บมจ.คอมเซเว่น (COM7) , บมจ.ซินเน็ค (ประเทศไทย) (SYNEX)