top of page

NPL 12 แบงก์ใหญ่พุ่ง 14%



NPL 12 แบงก์ใหญ่พุ่ง 14% จับตาปีนี้อาการหนัก #เห็นหนี้เสียแล้วมันปวดใจแต่ดีกว่าเป็นใครที่เธอให้อยู่นอกสายตา

#เสี่ยวCREW สำรวจข้อมูลหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) หรือที่เรียกว่า "หนี้เสีย" ประจำปี 2563 จากธนาคารพาณิชย์หลัก ๆ ของคนไทยจำนวน 12 แห่ง พบว่า มีมูลค่าหนี้เสียรวม 5.13 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.6 หมื่นล้านบาท หรือ 14% ดูตารางแนบได้ในคอมเมนท์นะครับ

ธนาคารกรุงไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ มีหนี้เสีย ณ สิ้นปี 63 สูงสุดเกิน 1 แสนล้านบาท

ส่วน 3 ธนาคารใหญ่ เช่น ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์ และ ธนาคารกรุงเทพ มีมูลค่าหนี้เสียเพิ่มขึ้นเกิน 1 หมื่นล้านบาท

ขณะที่ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮาส์ หนี้เสียเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว อยู่ที่ 5,368 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 93.41% จากสิ้นปี 62

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า สินเชื่อด้อยคุณภาพเสมือนเป็นภาพสะท้อนสัญญาณอ่อนแอของกิจกรรมทางเศรษฐกิจท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ที่มีผลกระทบต่อภาคธุรกิจและครัวเรือนทั่วไป โดยปี 2564 มองว่า NPL ยังมีโอกาสเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ แต่กลับต้องมาเผชิญกับผลกระทบอีกครั้งจากการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ในประเทศ คาดการณ์ในเบื้องต้นว่า สัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมของระบบธนาคารพาณิชย์ปี 2564 อาจจะทยอยขยับขึ้นไปที่ระดับประมาณ 3.53% จาก 3.16% ในปี 63

ทั้งนี้มีความเป็นไปได้ที่ลูกหนี้จะทยอยกลับมารับความช่วยเหลือจากสถาบันการเงิน เนื่องจากคาดว่า การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ที่กระจายวงกว้างและเศรษฐกิจที่ชะลอเวลาการฟื้นตัวออกไป อาจทำให้กระแสรายได้ของภาคธุรกิจยังคงไม่สม่ำเสมอ ส่งผลต่อความสามารถในการชำระคืนหนี้ของลูกหนี้ โดยเฉพาะในกรณีที่การควบคุมการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่กินเวลานาน

ขณะเดียวกันปัญหา NPL ปีนี้ มีโอกาสกระจายตัวออกไปในหลายกลุ่มธุรกิจมากขึ้น หลังจากปีก่อนแรงกดดันหลักจะอยู่กับธุรกิจขนส่ง โดยเฉพาะขนส่งทางอากาศ และธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ท แม้จะไม่มีการใช้มาตรการล็อกดาวน์ทั่วประเทศกับการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 แต่ระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ต้องหยุดชะงักลงในหลายส่วน และสัญญาณอ่อนแอต่อเนื่องของกำลังซื้อทั้งภายในและต่างประเทศ ย่อมส่งผลทำให้การฟื้นตัวของระดับรายได้ของครัวเรือน และหลายๆ ธุรกิจต้องเลื่อนเวลาออกไป ซึ่งสำหรับธุรกิจที่มีข้อจำกัดหรือมีความยืดหยุ่นน้อยในการปรับลดต้นทุน อาจเผชิญกับปัญหาด้านสภาพคล่องมากขึ้น

ดังนั้น นอกจากกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรมและรีสอร์ท และสินเชื่อรายย่อยแล้ว กลุ่มที่น่าเป็นห่วงเพิ่มเติมในปีนี้ ได้แก่ ผู้ประกอบการ SMEs ขายส่ง/ขายปลีก SMEs ภาคการผลิตทั้งที่รับช่วงผลิตต่อ/พึ่งพาตลาดส่งออก/อิงกับกำลังซื้อในประเทศ รวมไปถึงธุรกิจให้เช่าอาคารอพาร์ทเม้นท์ เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์และที่อยู่อาศัยอื่นๆ เพื่อเช่า

27 views0 comments
bottom of page