top of page

ฉิบหายแล้วบ้านกู (1)



ฉิบหายแล้วบ้านกู (1) ศก.หดตัว-ค้าปลีกติดลบ-หนี้เสียพุ่ง

“เศรษฐกิจไทยวันนี้เสี่ยงโคตรสูง / เสี่ยงรอบด้าน / GDP ที่หลายคนบอกว่าจะเติบโตเกือบ 4% ในปีนี้ เป็นเรื่องโคตรเพ้อ เป็นไปไม่ได้!! / ต่อให้มีวัคซีนก็ไม่ช่วยให้สภาพเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างรวดเร็ว / ปีนี้จะเป็นอีกปีที่เราต้องโดนกระหน่ำ”

สิ่งเหล่านี้ #เสี่ยวCREW คิดและประเมินสถานการณ์กันเองหลังยอดติดโควิด-19 พุ่งปรี๊ด

ยอมรับว่าตอนแรกไม่มั่นใจเท่าไหร่นัก เพราะไม่ค่อยมีใครพูดถึงความเสียหายทางเศรษฐกิจที่กำลังจะเกิดขึ้น ข่าวต่างๆก็ไม่ค่อยมีนำเสนอว่าหน่วยงานสำคัญทางเศรษฐกิจประเมินกันอย่างไร (หรือจะกลัวทำให้ผู้คนจิตตก)

แต่..หลังจากการพูดคุยกับนักเศรษฐศาสตร์ระดับประเทศหลายท่านเราก็มั่นใจว่าที่คิดไว้นั้นไม่ผิด นอกจากนั้นเรายังได้มุมมองใหม่ “ความฉิบหายอยู่ไม่ไกล” เพิ่มมาด้วย

อาการเป็นไง? เป็นมากแค่ไหน? เรียนเชิญทัศนาเรื่องร้ายๆไปด้วยกัน รอบนี้มีข้อมูลจากนักเศรษฐศาสตร์หลายท่านยิงยาวทั้งสัปดาห์ ก็หวังว่าทุกท่านจะนำไปพิจารณา และวิเคราะห์กันต่อว่าจะรับมืออย่างไรนะฮะ

เศรษฐกิจเผชิญภาวะหดตัวอีกครั้งหลังเกิดการแพร่ระบาดรอบสอง สะท้อนจากเครื่องมือใช้วัดการเดินทางของคนไทยผ่าน "Googel Mobility" พบว่าช่วงเกิดการแพร่ระบาดรอบสอง ตัวเลขหดตัวอย่างชัดเจนเพียงแค่สัปดาห์แรกของเดือนนี้ติดลบมากกว่า 40% จากภาวะปกติระดับ 20% การเดินทางทำงานในสถานที่ทำงานติดลบมากกว่า 35% จากเดิมใกล้เคียงระดับ 0 ขณะที่ตัวเลขการใช้จ่ายมีการหดตัวที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วง โดยตัวเลขค้าปลีกในประเทศติดลบ 16% สะท้อนการใช้จ่ายในประเทศหดตัวอย่างมีนัยสำคัญ

สิ่งที่รัฐบาลต้องเดินหน้าเร่งด่วนช่วงนี้ แบ่งเป็น 2 มิติ • มิติแรก การควบคุมโรคเร่งนำเข้าวัคซีนเร็วที่สุด หากล่าช้าเพียง 1 วัน อาจทำให้เศรษฐกิจเสียหายเป็นมูลค่ามหาศาล พร้อมกับต้องสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน เพราะการนำเข้าวัคซีนจาก "ซิโนแวค" ที่เป็นของสัญชาติจีน ผู้คนอาจระแวงถึงผลข้างเคียง รัฐบาลไม่ควรผูกขาดวัคซีนกับผู้ผลิตรายใดรายหนึ่ง ควรกระจายนำเข้าวัคซีนหลายๆผู้ผลิต เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง

• มิติที่สอง การประคับประคองเศรษฐกิจ แม้วันนี้จะทราบกันดีว่า รัฐบาลกำลังเจอความท้าทายด้านฐานะทางการคลังจากหนี้สาธารณะต่อจีดีพีที่เร่งขึ้นต่อเนื่อง แต่สิ่งที่จำเป็นต้องเดินหน้า คือ การนำเงินเข้าสู่มือประชาชนอย่างแท้จริง เพื่อให้เกิดการกระจายและหมุนเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ และกระตุ้นให้ผู้คนกลับมาใช้จ่ายทั้งในช่วงปกติ ช่วงเทศกาลหรือวันหยุดยาวอีกครั้ง "เวลานี้รัฐบาลไม่ควรช้า ควรมีมาตรการเอาเงินถึงมือประชาชน เพราะดัชนีบ่งชี้ว่าตัวเลขยอดค้าปลีกที่หดตัว ก็ทำให้รัฐบาลเองก็เก็บภาษีได้น้อยลงเช่นกัน คงต้องทบทวนขั้นตอนหรือกระบวนการทำงานของหน่วยงานรัฐบาลไม่ให้ล่าช้า เพราะมัวแต่ตั้งคณะกรรมการหลายคณะกว่าจะอนุมัติแต่ละเรื่องใช้เวลานาน วันนี้เป็นการระบาดรอบที่สองหากทำอะไรช้าการฟื้นเศรษฐกิจก็ยากเช่นกัน"

หนี้เสียจ่อพุ่งต่อเนื่อง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (KResearch) ระบุว่า แม้เศรษฐกิจไทยน่าจะผ่านช่วงวิกฤตที่สุดมาแล้ว แต่เส้นทางการฟื้นตัวในปีนี้ ยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยเฉพาะในครึ่งปีแรกต้องระมัดระวังความเสี่ยงจากสถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ อาจส่งผลให้ภาคธุรกิจชะลอการตัดสินใจลงทุนในโครงการขนาดใหญ่หรือโครงการระยะยาวออกไป ปี 64 จะเป็นอีกหนึ่งปีที่ไทยต้องรับมือกับปัญหาคุณภาพหนี้ ซึ่งเป็นผลกระทบต่อเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจที่มีสัญญาณอ่อนแอและฟื้นตัวช้า

นอกจากภารกิจในการติดตามดูแลความสามารถในการชำระหนี้ (กลุ่มที่ออกจากโครงการช่วยเหลือในปี 2563) และให้ความช่วยเหลือต่อเนื่องกับลูกหนี้กลุ่มเปราะบางแล้ว คาดว่าสถาบันการเงินจะต้องตั้งสำรองค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เพื่อรองรับสถานการณ์หนี้เสียที่ยังต้องใช้เวลาในการแก้ไข ประเมินว่าค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯ ปี 64 จะยังคงสูงกว่าระดับก่อนวิกฤตโควิด-19 เนื่องจากคาดว่าสถานการณ์หนี้ด้อยคุณภาพ หรือ NPLs ในภาพรวมจะยังไม่นิ่งท่ามกลางสถานการณ์การฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยังเป็นไปอย่างช้าๆ ซึ่งเป็นข้อจำกัดด้านรายได้และความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้หลายกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี

ส่วนภาพรวมหนี้ด้อยคุณภาพอาจขยับขึ้นต่อเนื่อง ตอกย้ำสถานะของ NPLs ซึ่งเป็นเครื่องชี้ตามหลังเศรษฐกิจ โดยประเมินว่า NPLs ของระบบธนาคารพาณิชย์อาจขยับขึ้นต่อเนื่องไปที่ 3.53% ณ สิ้นปี 2564 จากระดับประมาณการสิ้นปี 2563 ที่ 3.35% ของสินเชื่อรวม โดยในปี 2564 คาดว่าจะเห็นธนาคารพาณิชย์เร่งบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์ในพอร์ต ควบคู่ไปกับการทยอยประเมินจังหวะของการตัดหนี้สูญและขายสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ เพราะคงต้องยอมรับว่า สัญญาณเศรษฐกิจไทยในปี 2564 เริ่มมีความไม่แน่นอน และแนวโน้มยังขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยงและความสามารถในการควบคุมสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศ

ภาพดังกล่าวทำให้ธนาคารพาณิชย์ ยังคงต้องมีมาตรการช่วยเหลือกลุ่มลูกหนี้ที่มีความเปราะบางและมีสถานะทางการเงินที่อ่อนไหวตามสภาวะเศรษฐกิจ อีกทั้งต้องประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของกลุ่มลูกหนี้ธุรกิจและรายย่อยที่ได้รับการปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้วอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลของธปท. ลูกหนี้กลุ่มนี้มีอยู่ราว 1 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ยังต้องติดตามสถานการณ์การชำระหนี้ ของลูกค้าทุกกลุ่มอย่างอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในช่วงต้นปี 2564 เพราะแม้หลังสิ้นสุดการพักชำระหนี้ ลูกหนี้ส่วนใหญ่ที่เข้ามาตรการ จะไม่ได้ขอรับความช่วยเหลือต่อและสามารถกลับมาชำระหนี้ได้ตามปกติ แต่นั่นก็เป็นช่วงก่อนเกิดการระบาดโควิดระลอกใหม่

คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2564 อาจจะสามารถขยายตัวที่ระดับ 2.6% แต่เกิดจากฐานต่ำและติดลบในปีก่อน เพราะเศรษฐกิจหลายภาคส่วนยังไม่ฟื้นตัว โดยเฉพาะกลุ่มท่องเที่ยว

พรุ่งนี้มาเสพข่าวร้าย และความจริงกันต่อฮะ

ขอบคุณภาพจาก @Tiger Cf

2 views0 comments
bottom of page