top of page

“ดูวิกฤติเอเวอร์แกรนด์-แล้วย้อนดูหุ้นกู้ไทย”



“ดูวิกฤติเอเวอร์แกรนด์-แล้วย้อนดูหุ้นกู้ไทย” #หัวใจผมอาจไม่มีเรทติ้งมีแต่รักจริงไม่ทอดทิ้งให้เดียวดาย

การระเบิดของ “ไชน่า เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป” เป็นประเด็นร้อนที่ทั่วโลกกล่าวถึง แถมยังกดดันการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกไม่แพ้กัน ได้ข่าวว่าวันนี้ (23 ก.ย.) มีเส้นตายจ่ายดอกเบี้ยหุ้นกู้ 2 ชุด . • ดอกเบี้ยหุ้นกู้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนเดือน มี.ค.2565 ประมาณ 83.5 ล้านดอลลาร์ (อันนี้..ไม่รู้ว่าจ่ายไหม อะไรยังไง) • ดอกเบี้ยหุ้นกู้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนเดือน ก.ย.68 ประมาณ 35.88 ล้านดอลลาร์ (อันนี้บริษัทในเครือแจ้งตลาดหลักทรัพย์เสิ่นเจิ้นเรียบร้อย ว่า จ่ายตรง!!) . นอกจากนี้ ในวันที่ 29 ก.ย. ก็ยังมีกำหนดจ่ายดอกเบี้ยหุ้นกู้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนมี.ค.ปี 67 อีก 47.5 ล้านดอลลาร์ . หลายปีที่ผ่านมาบริษัทกู้เงินจำนวนมาก เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอสังหาฯจีน สะท้อนจากมูลค่าหุ้นกู้ของเอเวอร์แกรนด์ ณ สิ้นปี 63 มีมูลค่าสูงถึง 2.057 แสนล้านหยวน หรือคิดเป็น 3.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ตีกลับเป็นเงินบาทจะสูงถึงกว่า 1 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว !!! . ขณะที่หนี้สินโดยรวมของอาณาจักรแห่งนี้ บอกเลย โค-ตะ-ระ-มะ หา-ศาล มากกว่า 3 แสนล้านดอลลาร์ หรือ ราว 10 ล้านล้านบาท คิดเป็น 2% ของจีดีพีจีน ถ้าเทียบบ้านเราก็คิดเป็น 2 ใน 3 ของมูลค่าเศรษฐกิจไทยเองง!! . ดังนั้นไม่น่าแปลกใจครับ ที่วิกฤติเอเวอร์แกรนด์ กำลังสร้างความวิตกกังวลอย่างมากต่อระบบการเงินทั่วโลก #เสี่ยวCREW ขอย้อนกลับมาที่ไทยบ้างแล้วกัน หุ้นกู้เอกชนยังไหวไหม ? . บทวิจัยฯของ ดร.ดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเสถียรภาพระบบการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยแพร่ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมากล่าวโดยสรุป ว่า . ธปท. ติดตามความเสี่ยงของกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ ที่มีความสำคัญต่อระบบประมาณ 30 กลุ่มบริษัท โดยใช้ข้อมูลจากงบการเงิน / สถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ / บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ / นักวิเคราะห์ และการพูดคุยกับบริษัทเหล่านี้โดยตรง . ข่าวดี คือ โอกาสที่กลุ่มบริษัทเหล่านี้ จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยต่อเสถียรภาพระบบการเงินไทยในระยะหนึ่งปีข้างหน้ามีต่ำมาก หุ้นกู้ที่ได้รับการจัดลำดับที่ออกโดยกลุ่มบริษัทเหล่านี้ มีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับ Investment grade ทั้งหมด ทั้งนี้ถ้าไม่นับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) . อย่างไรก็ตามบทเรียนสำคัญจากกรณี Evergrande คือ บริษัทขนาดใหญ่ที่มิใช่สถาบันการเงิน สามารถส่งผ่านความเสี่ยงต่อเสถียรภาพของระบบการเงินได้ . บทวิจัยฯของ #เสี่ยวCREW สรุปว่า อย่าดีใจหรือมั่นใจเกินไปครับ แอบได้ยินเสียงลือเสียงเล่าอ้าง ถึงบริษัทขนาดใหญ่ในไทย ที่ใกล้ถึงเวลาแตกดับในอีกไม่ช้าเช่นกัน . ดังนั้นหากคิดจะลงทุนในหุ้นกู้ ห้ามมองข้าม "Credit rating" หรือ อันดับความน่าเชื่อถือ ไม่งั้นทางเลือกที่มีความเสี่ยงต่ำ อาจกลายเป็นโคตรเสี่ยง !! . อันดับเครดิตยิ่งสูง ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ยิ่งต่ำ แต่ผลตอบแทนก็จะต่ำลงเช่นกัน (ช้าแต่ชัวร์) ตรงกันข้าม อันดับเครดิตต่ำ ความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ยิ่งมากขึ้น แต่พวกนี้ก็จะให้ผลตอบแทนสูงไว้ดึงดูดความสนใจของผู้ลงทุน . Credit rating จะถูกแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ Investment Grade หรือ กลุ่มน่าลงทุน (AAA ถึง BBB-) และ Speculative Grade หรือกลุ่มเก็งกำไร (BB+- ลงไปจนถึง D) เป็นการประเมินความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารหนี้โดย “สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating Agencies)” . ในประเทศไทยมี 2 แห่งที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) คือ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด และ บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด . ส่วนบริษัทจัดอันดับซึ่งทั่วโลกมีอยู่ 3 เจ้ายักษ์ใหญ่คือ Moody’s / Standard & Poor’s และ Fitch

11 views0 comments
bottom of page