top of page

“ปฏิรูปภาษี” ดีไหมจ๊ะ



“ปฏิรูปภาษี” ดีไหมจ๊ะ #จ่ายภาษีเป็นหน้าที่ประชาชนรักมั่นคงเป็นหน้าที่ของหัวใจ #เอะอะขึ้นภาษี #อย่างป่วย เป้าหมายจัดเก็บภาษีปีงบประมาณ 64 คือ 2.085 ล้านล้านบาท ย้อนดูปีงบประมาณ 63 เป้าหมายอยู่ที่ 2.11 ล้านล้านบาท และปรับลดเหลือ 1.82 ล้านล้านบาท จัดเก็บได้จริง 1.833 ล้านล้านบาท ซึ่งพวกพี่สรรพากรเค้าบอกว่าเกินเป้านะจ๊ะ !!!

ทุกปี “สรรพากร” เค้าก็จะมีเป้าแบบนี้ไว้เป็นเกณฑ์ ซึ่งอีเป้าหมายนี้เป็นที่มาให้เราเห็นกิจกรรม “เล็งขึ้นภาษีสินค้า” อยู่ตลอด

ผิดไหม? ที่เค้าพยายามหาทางขึ้นภาษีสินค้าบางรายการ เพื่อช่วยให้เป็นไปตามเป้ามากขึ้น

#เสี่ยวCREW บอกเลย “ไม่ผิด” แต่ดูเป็นวิธีคิดที่ป่วย และเพ้อดีจัง ยามนี้แค่ราคาสินค้าเท่าเดิมก็ไม่ค่อยใช้จ่ายกันอยู่แล้ว อยากจะขึ้นภาษีสินค้าบางรายการให้แพงขึ้นอีกก็ได้หรอฟระ

“ปฏิรูปภาษี” ด้วยการปรับลดบางรายการ อาทิ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีสรรพสามิตบางรายการ อาจเป็นทางทำให้การใช้จ่ายในประเทศคึกคักกว่าเดิม และเป้าจัดเก็บก็อาจเป็นไปได้มากขึ้น

คนธรรมดาท่านหนึ่งที่มีความสามารถกว่ารัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ มีความเห็นดังต่อไปนี้

• ลองดูภาพห้างสรรพสินค้า แม้ว่าจะลดราคาต่อชิ้นลงไปมาก แต่ผลดีคือมียอดขายเพิ่มขึ้นและทำกำไร กระทรวงการคลังต้องมองให้คล้ายกับห้างสรรพสินค้า การลดราคาสินค้าด้วยการปฎิรูปภาษี จะเป็นผลบวกโดยรวมต่อเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างนโยบายนายโดนัล ทรัมป์ ที่ลดภาษีให้กับมนุษย์เงินเดือน ทำให้รัฐบาลมีรายได้จากฐานภาษีที่ใหญ่ขึ้น ไม่ได้ทำให้รายได้ของรัฐบาลลดลง

• หากเรามองการใช้จ่ายเงินของชนชั้นกลาง เมื่อมีเงินเพิ่มแม้จะเล็กน้อย แต่ก็พร้อมใช้จ่ายทันที นั่นแปลว่าหากรัฐบาลลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เป็นมนุษย์เงินเดือน รัฐบาลสามารถชดเชยด้วยการเก็บภาษีเพิ่มมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งไม่ได้ทำให้รายได้จากการเก็บภาษีของรัฐบาลลดลงด้วยซ้ำ แถมยังกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศได้อีกด้วย

• แม้จะมีกระแสว่าภาษีนำเข้าสินค้าของไทยไม่ได้เเพง แต่หากเราดูราคารถยนต์ Porsche911 เมื่อเข้ามาในไทย ราคา 1 คันเท่ากับราคา 3 คันที่ขายในอเมริกา หรือสินค้าบริโภคประเภทอื่นๆ ที่มีราคาสูงมาก เป็นโอกาสให้ราคาสินค้าประเภทเดียวกันในประเทศไม่ปรับลดตาม สิ่งเหล่านี้สะท้อนว่าภาษีสรรพสามิตที่ซ่อนอยู่ในราคาสินค้า ทำให้สินค้าแพงจนผู้บริโภคเอื้อมไม่ถึง จำกัดการบริโภคของคนในประเทศ เป็นเหตุผลให้การนำเข้าสินค้าลดลง สวนทางกับการส่งออกที่เพิ่มขึ้น และเป็นหนึ่งในตัวแปรหลักทำให้ค่าเงินบาทแข็ง และอาจเป็นผลกระทบต่อผู้ประกอบการที่มีธุรกรรมการค้ากับต่างประเทศในระยะต่อไป

• วันนี้ข้อจำกัดของนโยบายการเงินมีสูงแล้วในการกระตุ้นเศรษฐกิจ จำเป็นต้องมาใช้นโยบายการคลัง โดยเฉพาะด้านภาษี เพราะการที่สินค้าราคาแพงจะยิ่งทำให้การใช้จ่ายชะลอตัว ผู้บริโภคเอื้อมไม่ถึงเพราะรัฐบาลจัดเก็บแพงเกินไป

• งงเหมือนกันว่าทำไมรัฐบาลไม่ยอมปฎิรูปภาษี เพราะเห็นศึกษามานาน 3-4 ปีแล้วเรื่องการปฎิรูปภาษีมนุษย์เงินเดือน แถมยังเป็นนโยบายหลักของรัฐบาลในการหาเสียงด้วยซ้ำ คนข้างในคงกำลังลังเลว่าหากปฎิรูปภาษีการเก็บรายได้คงไม่ได้ตามเป้า แต่ถ้ามองในมุมกว้างรัฐบาลก็ยังเก็บรายได้ภาษีได้เหมือนเดิมอยู่ดี

สุดท้ายนี้ เชื่อเหอะ!!! ภาษีหลุดเป้าแน่นอน ถ้าทำงานแบบเดิม เอื่อยๆช้าๆ จะเอาไรไปถึงสภาพผู้คนก็แย่ ธุรกิจก็ยับอยู่แบบนี้ รัฐเองก็คงไม่มีตังค์มาแจกแล้วหล่ะ (การแจกเนี่ยมันไม่ได้ผลอะไรอย่างยั่งยืนนะ)

1 view0 comments
bottom of page