top of page

“ภาษีออนไลน์” เดากันต่อไป ?



รู้หรือไม่ ? “ไทย” เป็นประเทศที่ มีผู้ใช้เวลารับชม YouTube ติด TOP10 ของโลก มีผู้ใช้ Facebook มากกว่า 58 ล้านคน/เดือน มีผู้ใช้ Line 45 ล้านคน มีผู้ใช้ Twitter ประมาณ 6.5 ล้านบัญชี มีผู้ใช้ Instagram ประมาณ 12 ล้านบัญชี มีสัดส่วนผู้ใช้โซเชียลมีเดียคิดเป็น 75% ของจำนวนประชากร

มูลค่าโฆษณาผ่าน Digital Media ปีนี้ คาดว่าจะสูงถึง 22,000 ล้านบาท เติบโต 13% จากปีที่แล้ว ส่วนใหญ่มาจากแพลตฟอร์มดิจิทัลของต่างประเทศ เช่น เฟซบุ๊ค ยูทูบ ฯลฯ ข้อมูลจาก: The Digital Advertising Association of Thailand (DAAT) & กันตาร์ (ประเทศไทย) จำกัด

มูลค่าช้อปปิ้งออนไลน์ปีนี้ คาดว่าจะสูงถึง 2.2 แสนล้านบาท!! เติบโต 35% จากปีก่อนซึ่งมูลค่าอยู่ที่ 1.63 แสนล้านบาท มูลค่านี้ไม่รวมบริการจองที่พัก ตั๋วเครื่องบิน ดิจิทัลคอนเทนต์ ดาวน์โหลด ต่างๆนานา นับเฉพาะการซื้อของแบบเป็นชิ้นเป็นอันเท่านั้นนะฮะ ช่องทางที่มีการซื้อขายมากที่สุด คือ Marketplace (Shopee & Lazada) รองลงมา คือ Social Media (FB / Line / IG / Twitter) ข้อมูลจาก: บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด

โอ้วโหวเยอะไปอีก โตสนั่นหวั่นไหว เห็นข้อมูลเหล่านี้ #เสี่ยวCREW ก็ตื่นเต้นนะฮะ เพราะมันแสดงให้เห็น ว่า บัดนาวพฤติกรรมของผู้ใช้งานในประเทศ ถูกปรับเปลี่ยนให้พร้อมแล้วประมาณหนึ่งสำหรับการก้าวสู่เศรษฐกิจแบบดิจิทัล โดยที่รัฐยังไม่ได้ทันทำไรเป็นรูปธรรมเลย นอกจากการประกาศนโยบาย ไล่จับข่าวปลอม จับคนโพสต์รูปเหล้าเบียร์ แต่เว็บพนันเกลื่อนทุกฟีด

แต่ตอนนี้มีสิ่งหนึ่งแล้วฮะที่รัฐทำแน่ เป็นรูปธรรมเร็วๆนี้ชัวร์!! แทม ทา ดา แดม แทม แท่ม แทม แทม แท้ม “ภาษีออนไลน์” (e-service tax) หลายคนอาจจะบอก ว่า ช่วงนี้เค้าหิวภาษี หาเงินเป็นการใหญ่ แต่เราเห็นด้วยกับสิ่งนี้ และคิดว่าควรทำตั้งนานแล้ว เพราะที่ผ่านมาเราสูญเสียไปเยอะแล้ว ทั้งการเสียเงินให้แพลตฟอร์มต่างๆ และเสียให้ผู้ประกอบการต่างชาติเข้ามาทุ่มตลาด เปิดศึกชิงลูกค้าจากผู้ประกอบการไทยไปมากมาย (ที่ผ่านมาผู้ขายจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจีน โกยเงินจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซไปมากกว่าผู้ขายในประเทศมาตลอด ทั้งที่มีจำนวนรายน้อยกว่า ขณะที่เราแย่งกันขายแทบตาย)

อย่างไรก็ตามมีบางเรื่องที่เราคงต้องเฝ้าติดตามกันต่อไป 1. เมื่อเก็บภาษีแล้วใครซวย ? เมื่อเจ้าของแพลตฟอร์มมีต้นทุนเพิ่ม คงหนีไม่พ้นการผลักภาระมาให้ผู้ประกอบการทั้งหลาย ค่าโฆษณา ค่าฟีต่างๆในการใช้งานคงดีดขึ้น ซึ่งก็ต้องมาขยับราคากับผู้บริโภคไปอีก กลายเป็นเราซวยสองเด้งทั้งผู้ประกอบการที่ขายของและผู้บริโภค แม้รัฐจะบอกว่าไม่ให้กระทบส่วนนี้ แต่ดูแล้วมันก็ยากเหลือเกินที่จะควบคุม ซึ่งประเด็นนี้หลายคนก็บ่นกันยับเลยนะจ๊ะ 2. เงินภาษีไปไหน ? ถ้าเอาไปกองๆรวมกันแล้วเอาไปใช้ รื้อท่อ ปะถนน ช้อปรถถัง แต่งเรือดำน้ำ จัดงานต้อนรับ ลงพื้นที่ออกสื่อ ฯลฯ ก็คงเป็นเซ็งอ่ะเนาะ แต่ถ้าสร้างสรรค์ไปสนับสนุนแพลตฟอร์มไทยให้ปังผู้ประกอบ / พัฒนาการผลิตคอนเทนต์พวกเกมส์ หนัง เพลง ให้มันออกไปแข่งระดับนานาชาติ / จัดอีเว้นท์ E-Sport จ๊าบๆดึงคนจากทั่วโลกมารวมที่ไทย / สร้างระบบจัดเก็บข้อมูลด้านการค้าให้เป็นประโยชน์กับทั้งรัฐและผู้ประกอบการเอง ฯลฯ ได้ประมาณนี้ก็จะดี เอกชนสายดิจิทัลคงเป็นปลื้มกันมากมาย 3. ตรวจสอบอย่างไร ? อย่างที่เห็นกันอยู่หลายแพลตฟอร์มกอบโกยเงินไปแล้วมากมาย ด้วยระยะเวลาเป็นสิบปี โดยที่หน่วยงานจัดเก็บภาษีบ้านเราก็ไม่เคยทำอะไรได้ ตอนนี้เมื่อคิดจะทำ เราจะรู้ได้อย่างไร ว่า อีพวกนี้ไม่ได้ยักยอดขาย บางส่วนอาจผ่านบริษัทลูกในไทยเพื่อทำตามกฎหมาย อีกส่วนล่ะ..ถ้าไม่ผ่านแล้วไปที่อื่นเราจะตรวจสอบเจ้าของแพลตฟอร์มเหล่านี้อย่างไร แต่ละรายธรรมดาที่ไหน!! คงไม่เปิดเผยช่องทาง ปริมาณ ข้อมูลแบบง่ายๆ ซึ่งนั่นก็จะทำให้เราไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยอย่างที่ควรจะเป็น

สุดท้ายนี้ก็อยากจะบอก ว่า ประกาศสั้นเกิ้นไม่มีรายละเอียดไรเลย คนก็เดากันไป รวมทั้งเราด้วย แต่ก็ขอให้ออกมาดี มีประโยชน์กับทุกฝ่ายแล้วกันนะฮะ สาธุ!!

1 view0 comments
bottom of page