top of page

รับมืออย่างไร ? เมื่อเศรษฐกิจถดถอย



รับมืออย่างไร ? เมื่อเศรษฐกิจถดถอย #มองภาพเศรษฐกิจมันเหนื่อยใจ #แต่มองหน้าคุณทีไรมันชื่นใจทุกที

“Recession” หรือ ภาวะเศรษฐกิจถดถอย เป็นประเด็นใหญ่ที่ทั่วโลกกำลังหวาดหวั่น และวิตกกังวลกันอย่างมากในช่วงนี้ครับ . คาดการณ์กันว่าในครึ่งปีหลังนี้ เราจะได้เห็นมันเกิดขึ้นอย่างจริงจังในกลุ่มประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา ยุโรป จากนั้นคงลุกลามไปสู่ประเทศอื่นๆ ต่อไป . เนื่องจากกำลังซื้อจากกลุ่มประเทศขนาดใหญ่เหล่านี้ จะลดลงต่อเนื่อง ฮวบฮาบ และส่งผลกระทบในวงกว้างต่อประเทศผู้ผลิตที่กระจายอยู่ทั่วโลก . บัดนาวก็เริ่มมีสัญญาณความต้องการสินค้าลดลง เกิดขึ้นกับกลุ่มประเทศผู้ผลิตสินค้าหลายประเภทในแถบเอเชียแล้ว . ส่วนพี่ไทยเรา คงเลี่ยงผลกระทบเหล่านี้ไปไม่ได้เช่นกันครับ ที่หวังกันว่าจะฟื้นจากท่องเที่ยว จากส่งออก ก็อย่ามองโลกในแง่ดีจนเกินไปนัก . แต่เราจะถดถอยตามเค้าไปด้วยไหม ? อันนี้ #เสี่ยวCREW ขอไม่เดานะครับ คงปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่พีอาร์ไม่เก่งเป็นผู้ดำเนินการ . อย่างไรก็ตามคนธรรมดาหน้าตาดีอย่างเรา ควรเตรียมรับมือให้ดีครับ เรื่องนี้ใหญ่ !! และไม่รู้ว่ามันจะยาวนานแค่ไหน แต่ที่แน่ คือ มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตชัวร์ สิ่งที่ควรทำมีดังต่อไปนี้ครับ . 1. บริหารจัดการรายรับ-รายจ่าย: เป็นเรื่องควรทำอย่างเข้มงวดไม่ว่าในภาวะไหน เพื่อจะได้เห็นตัวเลขอย่างชัดเจน ว่า หาเงินได้เท่าไหร่ต่อเดือน / ใช้เท่าไหร่ต่อเดือน / เหลือ พอดี หรือติดลบ หากไม่พอต้องหารายได้เสริมอย่างเร่งด่วน พร้อมกับการลดรายจ่ายไร้สาระ ฟุ่มเฟือย . สำหรับคนที่รายได้ประจำเพียงพออยู่แล้ว “รักงานให้มาก” มีโอกาสหาความรู้เพื่อใช้พัฒนาการทำงานก็รีบทำด่วน เพื่ออัพเกรดตัวเองให้เป็นบุคลากรคุณภาพ . ซึ่งอาจมีโอกาสเพิ่มผลตอบแทนในหน้าที่การงานให้กับตัวเอง หรือหากจะหาแหล่งรายได้เสริมก็ยิ่งดี แต่อย่าให้กระทบกับงานประจำที่ทำอยู่ . 2. บริหารหนี้ให้อยู่ในระดับต่ำ: ในภาวะปกติหนี้ที่เหมาะสมควรอยู่ที่ไม่เกิน 50% ของรายได้ทุกทาง แต่ในภาวะไม่แน่นอน เศรษฐกิจถดถอย มีวิกฤติ ควรลดหนี้ให้อยู่ที่ไม่เกิน 30-40% ของรายได้ทุกทาง . ถ้าน้อยกว่านั้นได้ก็จัดว่า “เริ่ด” แต่ให้ดีสุด “การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ” . อย่างไรก็ตาม หากเริ่มรู้ตัวว่าไม่ไหวจะเคลียร์ รีบเจรจากับธนาคารหรือเจ้าหนี้ด่วน เพื่อขอหยุดพักชำระ ขอลดอัตราผ่อนชำระ หรือแนวทางอื่นๆ ที่เจ้าหนี้ผ่อนปรนให้ได้ อะไรก็ว่ากันไป . 3. เพิ่มเงินสำรอง: ในภาวะปกติเราควรมีเงินสำรองเท่ากับค่าใช้จ่ายประจำ 3-6 เดือน เผื่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน ตกงาน ขาดรายได้ แต่ในภาวะที่อาจแย่เช่นนี้ เงินสำรองควรขยับเพิ่มให้เท่ากับค่าใช้จ่ายประจำ 6-12 เดือน . เนื่องจากไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า สถานการณ์จะแย่ลง กลับเป็นปกติ หรือดีขึ้นเมื่อไร รายรับจะกลับมามั่นคงขึ้นช่วงไหน ดังนั้นเงินสำรองจึงมีความสำคัญในการรักษาตัวรอดอย่างยิ่ง . ส่วนเรื่องการลงทุนก็อย่าห้าวครับ ใจเย็นๆ ดูท่าทีไปก่อน รอเก็งกำไรเป็นรอบๆ เช่น ข่าวงบไตรมาส 2 , ข่าวดีเฉพาะกลุ่มธุรกิจ การลงทุนยาวอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีในช่วงนี้ เพราะตัวแปรที่อาจทำให้สถานการณ์แย่ลงนั้นเพียบ !!

9 views0 comments
bottom of page