top of page

สงครามเดือด-เฟดขึ้นดอกเบี้ย!! แต่...หุ้นไทยยังมีโอกาส



สงครามเดือด-เฟดขึ้นดอกเบี้ย!! แต่...หุ้นไทยยังมีโอกาส #สงครามทำให้ตลาดว้าวุ่น #การอยู่กับคุณทำผมอบอุ่นใจ

ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) กำลังประชุมนัดที่ 2 ของปีนี้กันแล้วครับ หลายคนกังวล ว่า ผลการประชุมรอบนี้ จะยิ่งซ้ำเติมภาวะการลงทุนในตลาดทั่วโลกหรือไม่ ? เพราะมันอาจนำไปสู่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกนับตั้งแต่ ธ.ค.61ท่ามกลางสงครามรัสเซียและยูเครน ที่ทำให้ราคาน้ำมันโคตรแพงอย่างรวดเร็ว แถมยังเร่งอัตราเงินเฟ้อ ที่อาจกลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก .

-เฟดอาจมอง "สงคราม" แค่ปัจจัยชั่วคราว "Morningstar" ระบุว่า การตัดสินใจของเฟดในการประชุม 15-16 มี.ค.นี้ น่าจะมองข้ามอัตราเงินเฟ้อที่เป็นผลจากภาวะสงครามในยูเครนออกไปก่อน ขณะที่ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ บ่งชี้ถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป คาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั้งหมด 6-7 ครั้งในปีนี้ . สอดคล้องกับมุมมองของนักลงทุนในตลาดตราสารหนี้ คาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.25% จากเดิมที่คาดไว้ 0.5% . เพราะความขัดแย้งของยูเครน-รัสเซีย ทำให้สหรัฐต้องเจอแรงกดดันของเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ทั้งจากราคาอาหาร ราคาพลังงาน และสินค้า Commodity แถมยังเกิดปัญหา Supply chains ตามมา ยิ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อเข้าไปอีก . แต่เชื่อว่าแรงกดดันต่อเงินเฟ้อจะลดลงในที่สุด จากความพยายามในการแก้ไขปัญหาเรื่อง Supply chains และกำลังการผลิตพลังงานที่เพิ่มขึ้นตามมา .

-เงินเฟ้อสหรัฐฯมี.ค. ดีดแรงตามราคาน้ำมันโลก อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐในเดือน มี.ค.คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 25% จากเดือนก่อน ส่งผลต่อสัดส่วนของพลังงานในการคำนวณ CPI ให้เพิ่มขึ้นประมาณ 10% และทำให้ Headline CPI ปรับเพิ่มขึ้น 0.6% อย่างไรก็ดี คาดว่าราคาน้ำมันในช่วงที่เหลือของปีนี้จะค่อยๆปรับลดลงในภายหลัง . สำหรับปัญหาของ Supply chains ซึ่งส่งผลทำให้ราคาสินค้าหลายชนิด โดยเฉพาะยานพาหนะปรับเพิ่มขึ้นนั้นคาดว่าในท้ายที่สุดจะได้รับการแก้ไข และส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับลดลง แต่ด้วยปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในตอนนี้ จะยังทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบ Supply chains อยู่ และยังไม่รู้ว่าจะจบลงเมื่อไหร่ . เนื่องจากทั้งรัสเซียและยูเครนนั้นเป็นผู้ส่งออก Neon และ Palladium รายใหญ่ของโลก ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของการผลิตในภาค Semiconductor ทั้งนี้รายงาน CPI จะออกมาช่วงหนึ่งสัปดาห์ ก่อนการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของเฟด . จากปัจจัยทั้งหมด ทำให้ความคาดหวังต่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟดนั้น มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังเกิดการโจมตีของรัสเซียในยูเครน เนื่องจากนักลงทุนกังวลต่อผลที่เกิดขึ้น ต่อราคาสินค้าจากระบบ Supply chains ที่ทำให้เกิดการขาดแคลนสินค้า .

-ธนาคารกลางทั่วโลกไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ยตามเฟด บล.เอเซีย พลัส ระบุว่า แม้ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนได้สร้างความเสี่ยงใหม่ต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ และทำให้ตลาดหุ้นโลกปรับตัวลงบ้าง แต่อีกด้านก็เพิ่มความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางต่างๆ อาจไม่เร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแล้ว . สะท้อนจากในการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) วันที่ 15-16 มี.ค. 65 นี้ ตลาดคาดว่า Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.25% หรือจาก 0-0.25% เป็น 0.25-0.5% จากช่วงก่อนหน้าเคยคาดขึ้นถึง 0.5% . สำหรับประเทศไทย เริ่มมีบางสำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจปรับประมาณการ GDP ปีนี้ลงบ้าง แต่เมื่อดูดีๆจะพบว่า สำนักที่ปรับลงจะเป็นสำนักที่ประเมินไว้ค่อนข้างสูง เช่น 3.7-3.9% จึงลงมาเหลือ 2.8-3.3% ส่วนบางสำนักก็ยังคงประมาณการไว้ เพราะมองว่าประเมินไว้ค่อนข้างต่ำแล้ว .

-แนวโน้มสภาพคล่องไหลเข้าหุ้นไทย ดังนั้นน่าจะเป็นเหตุผลให้เชื่อว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่ำที่ 0.50% ต่อไป เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวกลับมาได้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ตลาดหุ้นไทยยังมีสภาพคล่องเข้ามาหล่อเลี้ยง . และในมุม Valuation ตลาดหุ้นไทย ณ ปัจจุบันที่ 1,660 จุด ถือว่าไม่แพง!! เนื่องจากมีค่า P/E ปี 65 เพียง 18.7 เท่า นับว่าถูกกว่าตามกลไกที่ควรจะเป็น ขณะเดียวกันยังมีโอกาสที่ P/E จะขยับขึ้นไปได้ถึง 21 เท่า และหากพิจารณาในมุม Market Earning Yield Gap Band ปัจจุบัน อยู่ที่ 4.89% ซึ่งอยู่ใกล้ระดับ 1 S.D. ขณะที่ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4% เท่านั้น

9 views0 comments
bottom of page