top of page

เสี่ยวโพลชีวิตดี๊ดี



เสี่ยวโพลชีวิตดี๊ดี #เงินอาจจะหมดเพราะใช้เพลินแต่รักเธอเหลือเกินไม่เคยหมดจากหัวใจ #โบนัส หมายถึง เงินพิเศษนอกเหนือจากค่าจ้าง ที่องค์กรจ่ายให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ เป็นงวดรายปีหรือรายครึ่งปี หากจะแปลความหมายอย่างตรงตัวโบนัสก็มีค่าเพียงเท่านี้แหล่ะครับ แต่ในชีวิตจริง “โบนัส” มันมีความหมายอันมากมายเกินกว่าจะบรรยยายออกมาเป็นคำพูดได้ทั้งหมด จริงไหม?..ถามจัยเธอดู เชื่อเหลือเกินว่าคำตอบจากชีวิตจริงของมนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ และ พ่อ แม่ พี่ น้อง ทั้งหลาย โบนัส มันเปรียบเสมือนพลังแห่งความหวัง ความสุข แรงบันดาลใจ เครื่องปลดเปลื้องภาระ เงินต่อยอด เงินเก็บ จุดเริ่มต้นแผนการชีวิต รางวัลแห่งการทำงาน แผนการพิชิตเป้าหมายที่อยากซื้อมานาน ฯลฯ และเชื่อว่ามันเป็นอีกหลายอย่างมากมาย #เสี่ยวโพลชีวิตดี๊ดี (โพลทีเล่น ทีจริง สอดแทรกการวิเคราะห์ด้วยอารมณ์ล้วนๆ) ได้ทำการรวบรวมสถานการณ์โบนัส พร้อมทั้งสถานะความเป็นอยู่ในปี 2018 ของ พ่อ แม่ พี่ น้องชาวเสี่ยวจำนวน 1,520 คนมาให้ดูกัน เพื่อเป็นที่ประจักษ์ อย่างสาแก่ใจ ว่า เงินในกระเป๋าเราๆท่านๆนั้นเติบโตดั่งขุนเขา หรือ เบาบางดั่งขนนก ไปกันโลดดดด!!! สถานการณ์โบนัสปีนี้ กลุ่มเป้าหมาย 53.9% ไม่มีโบนัส รองลงมา 31.6% ได้โบนัส 1 เดือนชัวร์ และอีก 14.5% ได้โบนัส 2-6 เดือน สถานการณ์การช้อปปิ้ง กลุ่มเป้าหมาย 50.7% เก็บเงินเพื่อซื้อของมีราคาที่อยากได้มานาน รองลงมา 26.3% ได้แต่หวังว่าสักวันมันคงเป็นของเรา และอีก 23% เป็นพวกเหลือๆพร้อมสอยทันที ส่วนการ ช้อปปิ้งของเล็กๆน้อยๆเพื่อสนอง Need กลุ่มเป้าหมาย 59.2% ช้อปเมื่ออยาก รองลงมา 26.3% ถึงกับบอกว่าห่างกันสักพัก และอีก 14.5% เป็นกลุ่มรอบครอบที่ช้อปปิ้งเดือนละครั้ง ภาระกิจการชิลและแฮงค์เอาท์ กลุ่มเป้าหมาย 46.3% เลือกร้านเด็ด รสชาติดี รองลงมา 36.9% ใช้ชีวิตง่ายข้างทางไปกับร้านลาบและร้านข้าวต้ม และอีก 16.8% เป็นสายลูกคุณหนูเลือกร้านชิคคูลสุดเกร๋อ่ะแกรร ทั้งนี้พฤติกรรมการเลือกร้านสอดรับกับงบประมาณการชิล กลุ่มเป้าหมาย 45% ใช้งบ 1,000 บาท/ครั้ง (ไม่แพงหรอกแกรเมื่อเทียบกับราคาข้าวของปัจจุบัน) รองลงมา 35.8% ใช้งบ 500 บาท/ครั้ง และอีก 19.2% ไลฟ์สไตล์สวยหรูใช้งบ 2,000 บาทขึ้นไป/ครั้ง ภาระกิจด้านการท่องเที่ยวในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา กลุ่มเป้าหมายมีการท่องเที่ยวมากกว่าหนึ่ง ทริปและไม่ได้เที่ยวเลย ในอัตราเท่ากันที่ 36.2% ส่วนอีก 27.6% มีการเที่ยว 1 ทริป ด้านงบประมาณการท่องเที่ยวต่อคนต่อทริป กลุ่มเป้าหมาย 64.9% ใช้งบประมาณมากกว่า 3,000 บาท รองลงมา 21.9% ใช้งบประมาณ 2,000-3,000 บาท และ 13.2% ใช้งบประมาณ 1,000-2,000 บาท ชาวคณะฯสันนิษฐานว่าการท่องเที่ยวที่มีน้อยลงนั้นไม่ใช่เพราะไม่อยากเที่ยว แต่เพราะงบประมาณมีจำกัด บ้างก็เลือกไม่เที่ยเลย (อาจจะไม่มีเวลาด้วย) บ้างเมื่อได้เที่ยวก็เลือกสถานที่อันบ่งบอกไลฟ์สไตล์ดี๊ดี ถ่ายรูปลง IG แล้วเกร๋ไม่อายใคร ซึ่งส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในแต่ละครั้งในการเที่ยวพุ่งปรี๊ดตามไปด้วย สถานการณ์ด้านการเงินโดยรวม กลุ่มเป้าหมาย 40.8% อยู่ในภาวะเดือนชนเดือน รองลงมา 36.2% เหลือทุกเดือน และอีก 23% อยู่ในภาวะชักหน้าไม่ถึงหลัง การชำระหนี้ 57.2% ชำระหนี้เต็มจำนวน รองลงมา 38.2% จ่ายหนี้ขั้นต่ำ และอีก 4.6% อยู่ในภาวะไม่พร้อมจ่ายหนี้ การใช้เงินในแต่ละเดือนหมดไปกับค่าใช้จ่ายใดมากที่สุด กลุ่มเป้าหมาย 28.9% ใช้เพื่อการกิน / 24.3% ใช้เพื่อชำระหนี้ / 17.8% ใช้สำหรับการลงทุน / 14.5% ใช้เพื่อการซื้อของ / 5.9% ใช้เพื่อการเที่ยว / 4.6% ใช้เพื่อการผ่อนสินค้าบริการ และ 3.9% ใช้เพื่อการหาความรู้ ทั้งนี้เมื่อแบ่งเป็นสัดส่วนการใช้เงินเพื่อความสุขในแต่ละเดือนพบว่า กล่มเป้าหมาย 68.4% ใช้เงินหนึ่งในสามเพื่อหาความสุขใส่ตัว รองลงมา 15.1% ไม่มีเงินใช้เพื่อความสุขเพราะจ่ายหนี้หมด 11.8% ใช้เงินสองในสามเพื่อหาความสุขใส่ตัว และ 4.6% ใช้เงินทั้งหมดเพื่อหาความสุขใส่ตัว อารมณ์เพลงที่บ่งบอกสถานการณ์ด้านการเงิน 80% มาด้วยอารมณ์ต่อสู้ดิ้นรนผสมอกหัก 15% มาด้วยอารมณ์ความหวังและพอเพียง และ 5% มาด้วยอารมณ์สบายๆเหลือๆ เรื่องราวทั้งหมดมันก็เป็นแบบนี้แหล่ะครับพี่น้อง โดยรวมชาวคณะการลงทุนมีความเสี่ยวคิดว่าสถานการณ์การเงินของแต่ละบุคคลในปัจจุบันดูไม่ค่อยดีนัก กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ตกอยู่ในสภาพเงินใช้ไม่ค่อยพอ แต่ยังไม่ถึงขนาดอึดอัดมากนัก แต่ก็นะถ้าโบนัสไม่มา ปีหน้าอาจได้เห็นภาวะความอึดอัด ตึงเครียดที่มีมากขึ้น อย่างไรก็ตามไม่ต้องกลัว ไม่ต้องเครียด เจ็บอยู่คนเดียวซะที่ไหนกันเล่า ปัดโถ่วววว!! เพื่อน(ไม่มีตังค์)เราเยอะแยะ สุดท้ายนี้ขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านหันไปยิ้มให้ความยากลำบาก แล้วบอกมันว่าแกทำอะไรชั้นไม่ได้หรอก จากนั้นก็เดินหน้าลุยกันต่อไปอย่างไม่ย่อท้อ

0 views0 comments
bottom of page