top of page

เหนื่อยใจกับภัยแล้ง





ภัยแล้ง!!! อีกเรื่อง ร้าย ร้าย ที่แก้ไม่เคยจบ ในประเทศอันแสนอุดมสมบูรณ์

วันนี้ปัญหาก็ยังอยู่แหล่ะ ร้ายแรงกว่าทุกปี แต่อีโควิด-19 มาแย่งซีนเสียจนเหมือนไม่มีไรเกิดขึ้น

ความจริงพี่น้องเกษตรกรก็ยังเดือดร้อนหนัก และขยายวงกว้างมากขึ้นทุกวัน

เชื่อเหลือเกินว่าความเดือดร้อนเหล่านี้หนักหนา ยิ่งกว่าการไม่มีหน้ากากอนามัยใช้

ยิ่งกว่าการปิดสถานบันเทิง ยิ่งกว่าความไม่พอใจการแก้ปัญหาไวรัสระบาด ยิ่งกว่าค่าตรวจแพง ฯลฯ

เพราะสิ่งที่เกษตรกรกำลังเผชิญหน้า คือ ไม่มีจะกิน !!!


และในอนาคตก็มีความเป็นไปได้ที่หลายรายจะคงขาดแคลนทุนทรัพย์ในการฟื้นคืน

ข้อมูลจากศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (18 มี.ค.63) ระบุมีเขตประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินจากภัยแล้งจำนวน 24 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงราย น่าน เพชรบูรณ์ อุทัยธานี อุตรดิตถ์ พะเยา สุโขทัย นครพนม มหาสารคาม บึงกาฬ หนองคาย บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ นครราชสีมา สกลนคร กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชัยนาท นครสวรรค์ สุพรรณบุรี ขอนแก่น ชัยภูมิ ศรีสะเกษ และจังหวัดปราจีนบุรี

- ผลกระทบด้านพืชประสบภัย 22 จังหวัด เกษตรกร 262,524 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 2,341,826 ไร่ พบความเสียหายแล้ว เกษตรกร 177,991 ราย พื้นที่เสียหาย 1,698,835 ไร่ - ด้านปศุสัตว์ประสบภัย 2 จังหวัด (กาญจนบุรีนครราชสีมา) เกษตรกร 1,783 ราย จ านวนสัตว์ที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัย 50,195 ตัว - ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและใหญ่ล่าสุดมี 39,595 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 52 ของปริมาตรวม เทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วมี 48,178 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 63 น้อยกว่าปีที่แล้วจำนวน 8,583 ล้าน นี่เพิ่งเดือน 3 เท่านั้น!!นะจ๊ะ


จากข้อมูล #เสี่ยวCREW ก็อยากจะบอก ว่า พื้นที่ประสบภัยแล้งนั้นเพิ่มขึ้นต่อเนื่องฮะ ตอนต้นเดือน ก.พ. ยังมี 21 จังหวัดอยู่เบย ส่วนปริมาณน้ำก็ลดลงต่อเนื่อง สวนทางกันไปอีกกกกก เฮ้ออออ

อย่างไรก็ตามรัฐเค้าก็มีมาตรการช่วยเหลือออกมาเป็นระลอก - การช่วยเหลือแบบเฉพาะหน้า 1) เตรียมเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ เพื่อช่วยเหลือพื้นที่นาปี นาปรัง พืชไร่ จำนวน 2,139 เครื่อง เพื่อช่วยเหลืออุปโภคบริโภค จำนวน 602 เครื่อง ในพื้นที่ 49 จังหวัด 2) เตรียมสนับสนุนรถบรรทุกน้ำ รวม 106 คัน ภาคเหนือ 24 คัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 22 คัน ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก 28 คัน ภาคใต้ 14 คัน ศูนย์ปฏิบัติการเครื่องจักรกลและส่วนกลาง (นนทบุรี) 18 คัน ปัจจุบันส่งรถบรรทุกน้ำจำนวน 20คัน ในพื้นที่ 5จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ เลย ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และจังหวัดระยอง รวมปริมาณน้ำา 1.88 ล้านลิตร - โครงการจ้างแรงงานภาคเกษตร วงเงิน 3,100 ล้านบาท สำหรับงานซ่อมแซม บำรุงรักษา ขุดลอก ปรับปรุงงานชลประทาน ก่อสร้างแหล่งน้ำ ระบบส่งน้ำเพื่อชุมชน แก้มลิง การจัดการคุณภาพน้ำและโครงการป้องกันและบรรเทาภัยจากน้ำ ดำเนินการจ้างแรงงานทั่วทุกภาคของประเทศ คาดว่าจะสามารถจ้างแรงงานได้ไม่น้อยกว่า 41,000 คน ระยะเวลา 3 - 7 เดือน - โครงการฟื้นฟูเกษตรกรประสบภัยแล้ง-น้ำท่วม วงเงิน 3,120 ล้านบาท ส่งเสริมปลูกพืชใช้น้ำน้อย 347.52 ล้านบาท / รักษาปริมาณและคุณภาพข้าว 1,739.43 ล้านบาท / พัฒนาทางเลือกอาชีพด้านประมง การเลี้ยงปลานิล 260 ล้านบาท / สร้างรายได้ประมงในแหล่งน้ำชุมชน 506.91 ล้านบาท / ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีก 204 ล้านบาท - โครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจการที่เกี่ยวเนื่อง วงเงินรวม 50,000 ล้านบาท ระยะเวลา 1 ธ.ค. 62 - 30 พ.ย.68 เน้นส่งเสริมการเลี้ยง โคเนื้อ กระบือ แพะเนื้อ ไก่พื้นเมือง c]tกิจการเกี่ยวเนื่อง ส่งเสริมและสร้างโอกาสให้กับเกษตรกรในการสร้างอาชีพทางเลือกใหม่ด้วยการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมมาเลี้ยงสัตว์จำหน่าย ลดผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ราคาผลผลิตเกษตรตกต่ำ

บัดนาวเรื่องทั้งหมดก็มีแค่นี้ ก็ไม่รู้จะช่วยเหลือเกษตรกรในประเทศได้มากน้อยขนาดไหน ลองเปรียบเทียบแนวทางช่วยเหลือกะขนาดของปัญหาดูกันเองแล้วกันเนาะ แรงงานภาคเกษตรมีมากเป็นอันดับต้นๆของประเทศเสียด้วย ปีนี้รายได้จากภาคเกษตรคงหดตัวแรงไม่แพ้ภาคอื่นๆแน่นอน ปากท้องพี่น้องก็คงแห้งผากเสียยิ่งกว่าน้ำที่แล้ง คิดแล้วน้ำตาจิไหล สู้ๆนะครับพี่น้อง


สุดท้าย..ฝากไว้ให้คิดเล่นๆอย่านึงล่ะกันฮะ

แก้ปัญหาภัยแล้ง ตอนที่มันแล้งไปแล้ว ผลของมันจะไปได้อะไรล่ะ

0 views0 comments
bottom of page