top of page

แข็งทน แข็งนาน ต้องเงินบาทไทย




#ค่าเงินอาจผันผวนเปลี่ยนแปลงแต่รักคุณคนเดียวไม่เคยเปลี่ยนไป #สวัสดีบาทแข็ง #HNY2020 สวัสดีปีใหม่นะฮะ หายแฮงค์กันยังเอ่ยวัยรุ่น แถวนี้ยังสะเงาะสะแงะอยู่เล็กน้อย เพราะเคาท์ดาวน์เลยเถิดไปนิสส แต่พร้อมแล้วฮะเปิดศักราชใหม่กันด้วยสถานการณ์สุดตื่นเต้นดีฝ่า เงินบาทแข็งค่า!! จริงๆสถานการณ์นี้มันก็วนเวียนและเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจไทยมาอย่างต่อเนื่อง ว่ากันว่าปีที่แล้วเงินบาทแข็งค่าขึ้น 8% กว่าๆเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ (ส่งท้ายปีโชว์เหนือ!!แข็งค่ามากสุดในรอบ 6 ปี แตะระดับ 29 บาทปลายๆให้ชมเป็นขวัญตา) แถมยังเป็นสกุลเงินที่แข็งค่ามากสุดในเอเชียอีกตะหาก เล่นเอาภาคส่งออกและท่องเที่ยว “ร้องโอ้ยยย” กันเป็นแถว ทำไมต้องร้อง? ตอบง่ายๆโง่ๆ คือ สองภาคธุรกิจนี้ (เป็นภาคธุรกิจใหญ่เบิ้มของประเทศเราด้วย) พึ่งพาสกุลเงินต่างประเทศเป็นหลัก ขายของไปปริมาณเท่าเดิมจะได้เงินน้อยกว่าเดิมเพราะรับเงินต่างชาติมาแลกเป็นเงินบาทแล้วได้น้อยลง แถมจะขยับราคาขึ้นเพื่อชดเชยส่วนต่างในภาวะเยี่ยงนี้ก็เป็นไปได้ยากยิ่ง เพราะลูกค้าต้องจ่ายแพงขึ้นอยู่แล้วตามค่าเงินที่แข็งค่า อีกทั้งกำลังซื้อทั่วโลกก็ไม่ได้ดีเว่อร์วัง แล้วปีนี้เงินบาทจะแข็งอย่างกับกินไวอากร้าต่อไปป่าว? “ปีนี้ค่าเงินบาทมีโอกาสแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึง 29 บาทกว่า/ดอลลาร์สหรัฐฯ” #เสี่ยวCREW ไม่ได้กล่าวแต่ รศ.ดร. สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์ เป็นคนกล่าว ขณะเดียวกันได้ให้สาเหตุที่เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง ประกอบด้วย 1) ภาคการส่งออกไม่ดีแต่การนำเข้ากลับยิ่งแย่กว่า ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2) ปีนี้เป็นปีแห่งการลงทุนโดยเฉพาะในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) บริษัทที่มีการจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) บางส่วนจะมีการทยอยลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาเพิ่มอีก ทำให้มีความต้องการเงินบาทเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินบาทยิ่งเพิ่มค่าสูงขึ้น 3) ในมุมมองของนักลงทุนต่างชาติ “ไทย” เป็นหนึ่งในประเทศที่มีความปลอดภัย ในฐานะ “หลุมหลบภัยทางการเงิน” หรือเรียกว่า "เซฟ เฮเวน (save haven)" ในภาวะเศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนสูง แม้ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นไม่ถึง 3% แต่จากเสถียรภาพต่างๆ เช่น การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง หนี้สาธารณะต่อจีดีพีอยู่ประมาณ 40% ขณะที่ที่เงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในระดับ 0.8% ด้วยองค์ประกอบดังกล่าว น่าจะยังสร้างแรงจูงใจให้คนเข้ามาลงทุนในไทย คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ระบุว่า มีความกังวลต่อสถานการณ์เงินบาทที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้าคู่แข่ง แม้จะแข็งค่าชะลอลงและเคลื่อนไหวทั้งสองทิศทางมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ยังคงส่งผลกระทบต่อการส่งออกและเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะภาคการผลิตและการจ้างงานในภาคการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก รวมถึงผลกระทบต่อกำไรและสภาพคล่องของธุรกิจ และความสามารถในการชำระหนี้ซึ่งด้อยลงในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผล กระทบจากการส่งออก คณะกรรมการฯ เห็นควรให้ติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาทและเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างใกล้ชิด รวมถึงให้ติดตามผลของมาตรการผ่อนคลายกฎเกณฑ์กำกับดูแลการแลกเปลี่ยนเงิน เพื่อเอื้อให้เงินทุนไหลออกและพิจารณาความจำเป็นในการดำเนินมาตรการเพิ่มเติม . .. ... ที่มา: BBCNEWS / ธนาคารแห่งประเทศไทย

0 views0 comments
bottom of page