top of page

NPL ระเบิดเวลาระบบเศรษฐกิจ



NPL ระเบิดเวลาระบบเศรษฐกิจ

#พูดเรื่องหนี้แล้วหวาดเสียวพูดแต่เรื่องเราอย่างเดียวดีกว่าไหม #NPLหรือหนี้เสีย จัดว่าเป็นหนามยอกอกชิ้นใหญ่ของระบบเศรษฐกิจและธุรกิจ ยิ่งมากก็ยิ่งน่าหวาดหวั่น ข้อมูลล่าสุดจากธนาคารแห่งประเทศไทย NPL ในระบบธนาคารพาณิชย์ ณ ไตรมาส 3 ปี 2561 (ตัวเลขอย่างเป็นทางการไตรมาส4น่าจะออกในเร็วๆนี้) มีมูลค่ารวม 443,094 ล้านบาท คิดเป็น 2.94% โดย Top3 ประกอบด้วย การผลิต 121,051 ล้านบาท / การขายส่ง-ขายปลีก การอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล 118,769 ล้านบาท / การซ่อมยานยนต์-จักรยานยนต์ 111,604 ล้านบาท

ส่วน NPL ที่อยู่อาศัย 73,633 ล้านบาท และรถยนต์ 16,237 ล้านบาท

แต่เมื่อมาดู NPL ของแต่ละแบงก์ตัวเลขแอบไม่ธรรมดาเว้ยยย!! มีแบงก์ที่ NPL สูงกว่า 3% อยู่หลายแห่ง บางแห่งจ่อ 4.5% กันแว้วว #พีคในพีค คือ หนี้จัดชั้นพิเศษที่จ่อจะกลายเป็น NPL ตัวเลขวิ่งดีเหลือเกิน แบงก์ในระบบเกินครึ่ง มีลูกหนี้จัดอยู่ในกลุ่มนี้สูงกว่า 3% บางแห่งมีลูกหนี้ในกลุ่มนี้สูงถึง 6.5% กันเลยทีเดียว (ขออนุญาตไม่เอ่ยนาม)

เปิดปีหมูมาเกือบเดือน หลายๆเสียงบอกคล้ายกันว่า “สถานการณ์ยังต้องติดตาม เฝ้าระวัง และน่าจะเห็น NPL เร่งตัวขึ้นอีกในปีนี้” แต่ยังไม่น่าห่วงเพราะฐานะการเงินแบงก์บ้านเราสตรองมากกก มีเงินกองทุนและเงินสำรองในระดับสูง แถมยังต้องเตรียมปรับระบบสู่การใช้มาตรฐานบัญชีใหม่ IFRS9 ซึ่งมีมาตรฐานดีกว่าเดิม

อย่างไรก็ตามชาวคณะการลงทุนมีความเสี่ยวได้รวบรวมประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามเกี่ยวกับสถานการณ์ NPL ในปีนี้ ประกอบด้วย 1. NPL มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นอีก 2. สภาพคล่องของธุรกิจเอสเอ็มอีและประชาชนทั่วไป 3. ผลกระทบภาระหนี้สะสมภาคที่อยู่อาศัย รถยนต์ สินเชื่อบุคคล 4. การบริหารจัดการและแก้ปัญหาลูกหนี้ที่คาดว่าจะเป็น NPL 5. การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 6. การขยายตัวของสภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 7. ฐานะการเงินของแบงก์ทั้งระบบแข็งแรงจริงหรือไม่ 8. คุณภาพตราสารทางการเงินที่แบงก์ใช้ระดมทุนเพื่อปล่อยสินเชื่อ

แหล่งข่าวที่เชื่อถือไม่ได้จากต่างดาวเมื่อมองมาที่โลก ระบุว่า “ในช่วงที่ผ่านมา NPL บ้านเราค่อยๆวิ่งขึ้นมาต่อเนื่อง หากทั้งระบบวิ่งไปอยู่ที่ 3-4.5% เมื่อไหร่ เมื่อนั้นความมันบังเกิด ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่เราจะได้เห็นตัวเลขนั้น เพราะในปัจจุบันศักยภาพในการชำระหนี้ของกลุ่มธุรกิจขนาดกลาง-ขนาดย่อม ประชาชนทั่วไปที่ซื้อบ้าน ซื้อรถ อยู่ในภาวะใกล้เต็มเพดานหนี้ หรือบางรายอาจเต็มไปนานแล้ว

ส่วนรายรับก็ไม่ต้องพูดถึง จากสภาพเศรษฐกิจที่เห็นกันอยู่ การโตของรายรับของเงินเดือนแบบพรวดพราดจนพอใช้หนี้มันคงไม่มีให้เห็น ธุรกิจขนาดใหญ่เองก็น่าห่วง แบงก์หลายแห่งมีหนี้ก้อนมหึมาที่บางครั้งอาจไม่ได้เอามาเปิดเผยว่ามันใกล้จะไม่รอด พอรู้อีกทีกลายเป็นอภิมหาหนี้ ซึ่งมันก็เกิดบ่อยและมีให้เห็นมาแล้วหลายครั้ง

1 view0 comments
bottom of page