top of page

SMEs ไทยแข็งแรง..แค่ไหน?



SMEs ไทยแข็งแรง..แค่ไหน?

“Small and Medium Enterprise” หรือ SMEs แปลความหมายว่าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โหววว..ความหมายดูมีอะไร และยากเกินเข้าใจไปในเวลาเดียวกัน เอาจริงๆก็ไม่มีอะไรมากมาย มันก็คือ ธุรกิจ กิจการ ทั่วไป อาทิ ร้านค้า ร้านอาหาร ร้านกาแฟ โรงงานลูกหมาก โฮสเทล โรงงานเสื้อยืด ของที่ระลึก ร้านเฟอร์นิเจอร์-ของแต่งบ้าน ฯลฯ ที่อยู่ในชีวิตประจำวันเรานี้ล่ะ ว่ากันตามกฎหมาย SMEs ถูกแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ

1.) กิจการที่ดำเนินงานเกี่ยวกับการผลิตหรือบริการ มีทรัพย์สินถาวรไม่เกิน 200 ล้านบาท มีการจ้างงานไม่เกิน 200 คน 2.) กิจการค้าส่งมีทรัพย์สินถาวรไม่เกิน 100 ล้านบาท มีการจ้างงานไม่เกิน 50 คน 3.)กิจการค้าปลีก มีมูลค่าทรัพย์สินถาวรไม่เกิน 60 ล้านบาทมีการจ้างงานไม่เกิน 30 คน

กาลครั้งหนึ่ง SMEs เคยฮิตและสำคัญกว่านี้มาก มีการส่งเสริมสนับสนุนกันจริงจัง นโยบายกิจกรรมผลักดันกันเต้มมมมมม ไปหมดให้เกิดผู้ประกอบการ ตั้งแต่เรากลายเป็น ไทยแลนด์ 4.0 Startup New S-curve Innovation ก็มาแทนที่กันมั่วไปหมด สรุปตอนนี้เลยไม่มีอะไรแข็งแรงสักอย่าง

มาดูสถานการณ์จริงกันดีกว่า....

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาลัยหอการค้าไทยสำรวจสถานการณ์ธุรกิจเอสเอ็มอีทั่วประเทศ ประกอบด้วย ธุรกิจการผลิต ธุรกิจการค้า ธุรกิจบริการ (ไตรมาส3 ปี 2561) พบว่า....

ดัชนีสถานการณ์ธุรกิจเอสเอ็มอีลดลง 0.1 จุดจากไตรมาส 2 อยู่ที่ 43.2 จุดและคาดว่ายังลดลงต่อเนื่องในไตรมาส 4 อยู่ที่ประมาณ 42.3 จุด

ธุรกิจที่ดัชนีสถานการณ์ธุรกิจอยู่ต่ำกว่าระดับ 40 จุด ประกอบด้วย สิ่งทอและแฟชั่น / หัตถกรรม / อัญมณีและเครื่องประดับ / เฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์จากไม้ / บริการด้านการศึกษา / ขนส่งและโลจิสติกส์

สำหรับยอดขายรวมดัชนีอยู่ที่ 42.9 จุด เพิ่มขึ้น 0.2 จุด และกำไรสุทธิอยู่ที่ 39.3 จุด เพิ่มขึ้น 0.1 จุด หนี้สินอยู่ที่ 46.1 จุดลดลง0.1 จุด สภาพคล่องอยู่ที่ 37.6 จุดลดลง 1.7 จุด

ทั้งนี้ดัชนีที่มีค่าต่ำกว่า 50 จุดถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่แย่หรือมีแนวโน้มจะแย่ลง ข้อมูลเพิ่มเติม: http://cebf.utcc.ac.th/index_number.php?typeid=6

ตัวเลขเหล่านี้พอจะบอกเราได้ว่า #SMEsไม่โอเค ในสถานการณ์ปัจจุบัน สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ สภาพคล่อง ที่เปรียบเสมือนลมหายใจของธุรกิจ

หากยังมีแนวโน้มเบาบางลงและตึงไปเรื่อยๆอีกระยะ อาจถึงจุดที่ธุรกิจเหล่านี้ไม่สามารถลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยนและแข่งขัน ต้องหยุดการดำเนินกิจการ และก่อให้เกิดปัญหา เอ็นพีแอล การว่างงาน ผลกระทบเศรษฐกิจภาพรวม ฯลฯ ตามมาอีกระลอก

ดร.เชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยให้มุมมองเกี่ยวกับสถานการณ์ธุรกิจ SMEs อย่างน่าสนใจว่า #เอสเอ็มอีต้องเจอความท้าทายทางธุรกิจและการแข่งขันไปอีก 2-3 ปี การเปลี่ยนแปลงของตลาดที่เข้าไปอยู่ใน Digital Platform ทำให้ไม่สามารถทำธุรกิจแบบเดิมที่ค้าขายแล้วได้กำไรเยอะๆได้

ผู้ประกอบการต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการทำธุรกิจครั้งใหญ่ โดยวางแผนปรับกลยุทธ์ระยะยาว ศึกษาแนวทางของแพลทฟอร์มใหม่ๆอย่างจริงจัง เอาตัวเองเข้าไปอยู่ในแพลทฟอร์มใหม่ด้วยต้นทุนที่ต่ำแต่เกิดประสิทธิภาพ สูงสุด และปรึกษาสถาบันการเงินเพื่อวางแผนลงทุนในแต่ละระยะให้ดี

อย่างไรก็ตามการที่ผู้ประกอบการรายเล็กจะเอาตัวเองเข้าไปอยู่ตรงนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะในสถานการณ์ปัจจุบันแค่ทำธุรกิจเพื่อหมุนเงินให้ทันก็ยากอยู่แล้ว ยังต้องลงทุนเพิ่มเติมในสิ่งเหล่านี้อีก ในแง่ความรู้ความเข้าใจเรื่องนี้ก็ยังจำกัด ไม่เหมือนองค์กรใหญ่ที่มีความพร้อมในการแข่งขันมากกว่า

#สรุป: ทางเดินของ SMEs ต่อจากนี้ไม่ได้โรยไว้ด้วยกลีบกุหลาบมีอุปสรรค การแข่งขัน สภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยเอื้ออำนวย รออยู่เพียบ ดังนั้นห้ามหมดอาลัยตายอยาก ก้มหน้าก้มตาทำงานอย่างมีชั้นเชิงจริงจังและหนักขึ้น #พึ่งตัวเองให้เยอะ อย่าฝากความหวังหรือหวังพึ่งใคร เพราะที่ผ่านมานโยบายรัฐที่สนับสนุนมีแต่นโยบายโรยหน้า

งบประมาณถูกเทไปกับอีเว้นท์ กิจกรรม เยี่ยมชม ดูงาน ให้รัฐมนตรีมาปาฐกถา มาเปิดงาน เอาให้มันดูคึกคักเข้าไว้ให้คนรู้จัก “คำ”กันเยอะๆ พูดให้ติดปากกันไปส่วนการปฏิบัติและการทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้ประกอบการไม่ว่าจะภาคไหนก็ตามยังคงอ่อนด๋อยดังเดิม

0 views0 comments
bottom of page