top of page

“ปัญหาเชิงโครงสร้าง” ปัจจัยความฉิบหาย เศรษฐกิจ-สังคมไทย

“ปัญหาเชิงโครงสร้าง”

ปัจจัยความฉิบหาย

เศรษฐกิจ-สังคมไทย

#ปัญหามีไว้ให้แก้แต่รักแท้มีไว้ให้เธอ

“ปัญหาเชิงโครงสร้าง” เรามักได้ยินคำนี้อยู่บ่อยๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่สถานการณ์เศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยอยู่ในภาวะ “ย่ำแย่” โดยทุกครั้งที่มีการกล่าวถึงปัญหาเชิงโครงสร้างนี้ ผลลัพธ์ของมันมักเป็นไปในทางลบเสมอ

.

ล่าสุดในการแถลงข่าวของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อต้นเดือนก.พ.ที่ผ่านมา ก็ยังเน้นย้ำถึงปัจจัยเชิงโครงสร้างนี้เป็นอย่างมากว่า เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวช้า เติบโตต่ำ และมีความไม่แน่นอนสูงในอนาคตอันใกล้

.

ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการผู้ทรงคุณค่าและสร้างสรรค์คุณประโยชน์มากมายให้กับสังคมไทย ท่านเคยกล่าวไว้ว่า

.

“ปัญหาเชิงโครงสร้างเป็นปัญหาที่สะสมมานาน และเป็นสาเหตุพื้นฐานที่ก่อให้เกิด ปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำ และความไม่เป็นธรรมในสังคม และถ้าเริ่มต้นแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างไม่สำเร็จ ก็จะแก้ปัญหาสังคมได้ยาก เช่นเดียวกับการกลัดกระดุมเม็ดแรก”

.

แล้วอีปัญหาเชิงโครงสร้างนี้ มันประกอบไปด้วยอะไรบ้างล่ะ แล้วทำไมมันจึงกัดกินประเทศชาติ ถ่วงความเจริญให้เศรษฐกิจห่วยแตก ทำมาหากินยาก เกิดความเหลื่อมล้ำ ได้มากมายและยาวนานขนาดนี้

.

#เสี่ยวCREW ขออนุญาตยกตัวอย่างปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่เกิดจากรัฐและกลุ่มคนมีอำนาจ ให้เห็นเป็นตัวอย่างบางส่วน

.

     • ทุจริต-คอรัปชั่น ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางไม่ถูกต้อง แสวงหาผลประโยชน์ให้ตัวเอง ตรวจสอบช้า ไม่มีบทลงโทษที่เด็ดขาด

     • สืบทอดอำนาจ ผู้มีอำนาจในสังคม ธุรกิจ ราชการ ร่วมกันเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง สร้างและขยายวงความสัมพันธ์เชิงอำนาจในทุกยุคทุกสมัย

     • ระบบผูกขาด ร่วมกันสร้างโดยผู้มีอำนาจในสังคม ธุรกิจ ราชการ ปิดกั้นและจำกัดโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ อย่างเท่าเทียมกัน กดขี่ระบบการค้าไม่ให้เกิดความเป็นธรรม สร้างความเหลื่อล้ำ

     • การบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นธรรม เป็นเครื่องมือในการทำลายฝ่ายตรงข้าม สร้างความได้เปรียบ-ผลประโยชน์ เปลี่ยนผิดเป็นถูก

     • กฎหมายล้าหลัง ไม่เอื้อต่อการริเริ่มสิ่งใหม่ ปรับตัวให้ทันต่อการแข่งขัน สร้างข้อจำกัดในการดำเนินงาน การทำมาหากินหลากหลายด้าน

     • การใช้อำนาจรัฐแทรกแซง การดำเนินงานหลายด้าน หลายภาคส่วน มักถูกรัฐกำหนดกรอบกติกาที่เอื้อประโยชน์ต่อรัฐ หรือกลุ่มบุคคลที่มีอำนาจ และแทรกแซงตลาดไม่ปล่อยให้เป็นไปตามกลไก เพื่อสร้างประโยชน์ให้ประชาชนอย่างแท้จริง

     • การศึกษาห่วย ระบบการศึกษาล้าหลัง ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาดีๆ ได้อย่างเท่าเทียม บุคลากรในระบบส่วนใหญ่ไร้คุณภาพ

.

อย่างที่บอกครับ “แค่บางส่วน” ให้ลิสต์จริงๆ คงยาวกว่ากำแพงเมืองจีน

.

เพราะปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศไทย มันก่อตัว สะสมมาแต่โบราณกาลยุค “ออเจ้า” โน่นน แล้วก็กัดกินบ้านเมืองกันสนุกสนานมาตลอด โดยกลุ่มคนระดับบน คหบดี เสนาบดี อำมาตย์ ข้าราชการ

.

ไพร่อย่างเราไม่ได้ไปมีส่วนอะไรกับเขาหรอก ก้มหน้าหากินให้อยู่รอดก็ยากแล้ว

.

ไม่เชื่อลองย้อนไปดูประวัติศาสตร์ความฉิบหาย ทางเศรษฐกิจ สังคม ของประเทศไทยดูเอาเอง ไม่มีครั้งไหนหรอกครับที่มันล้ม มันพัง เพราะประชาชน

.

แต่ก็อย่าท้อใจไปครับ ชาติหน้า หรือ ชาติถัดไป อาจจะแก้ได้

326 views0 comments
bottom of page