top of page

หุ้นกู้เศรษฐี กับ ชีวิตประชาชน




วิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์!! มาเยือนเราแล้ว

จากผลกระทบการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ลุกลามทั่วโลก

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF (ว่าที่เจ้าหนี้รายใหญ่ของพวกเราฮะ)

คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอยหนักสุดในรอบ 100 ปี

เบื้องต้นประเมินมูลค่าความเสียหายต่อเศรษฐกิจสูงถึง 9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

สำหรับระบบเศรษฐกิจไทยที่ยังพึ่งพา “คนอื่น” เป็นหลักทั้งกลุ่มการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ และภาคท่องเที่ยว ภายในไม่เคยเข้มแข็ง เป็นผลให้ GDP ปีนี้มีแววทรุดหนักมาก หลายกิจกิจการต้องปิดตัว คนไทยตกงานเพิ่มขึ้นอีกเพียบ

หน่วยงานพยากรณ์เศรษฐกิจบางแห่งประเมินว่าทั้งปีจะมีคนไทยตกงานสูงถึง 10 ล้านคน

บทบาทสำคัญของรัดบานยุค "ลุงตู่" ทางหนึ่ง ต้องควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาดให้ไว อีกทางหนึ่ง ต้องงัดมาตรการพยุงเศรษฐกิจไม่ให้เลวร้ายยยกว่านี้ เลยเป็นที่มาให้รัฐบาลซึ่งมีฐานะการคลังแข็งแกร่งอย่างมาก จำเป็นต้องกู้เงินครั้งประวิติศาสตร์ 1.9 ล้านล้านบาท เพื่อดูแลเศรษฐกิจและเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19


เงินที่กู้มาเยอะแยะนั้นเอามาใช้ไรบ้าง ? สรุปสั้นๆตามนี้ - 6 แสนล้านบาท เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ดูแลด้านสาธารณสุข - 4 แสนล้านบาท ฟื้นฟูเศรษฐกิจ-สังคม ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ต่างๆ สร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจชุมชน - 5 แสนล้านบาท ปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำช่วยธุรกิจ SMEs - 4 แสนล้านบาท ตั้งกองทุนพยุงหุ้นกู้เอกชน BSF

เงินจำนวนนี้ #เสี่ยวCREW คงไม่ได้ใช้กะเค้าหรอก แต่สะกิดใจเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบงบเยียวยาประชาชนทั้งประเทศหลายสิบล้านคนที่ได้รับผลกระทบนั้น มีจำนวน 5 แสนกว่าล้าน (อยู่ในก้อน 6 แสนล้านที่ส่วนหนึ่งถูกแบ่งไปใช้สำหรับการดูแลด้านสาธารณสุข) กับงบเยียวยาเศรษฐี เฮ้ยๆ เดี๋ยวๆ มีด้วยหรองบเยียวยาเศรษฐี ?

มีดิค้าบบบ 4 แสนล้านบาทที่จะเอาไปพยุงหุ้นกู้นั่นไง


ปัจจุบันหุ้นกู้เอกชนมีมูลค่ากว่า 3.7 ล้านล้านบาท และมักครบกำหนดไถ่ถอนไม่น้อยกว่า 8-9 แสนล้านบาท/ปี หากนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นไม่ใส่เงินเข้ามาลงทุนรอบใหม่ มีความเสี่ยงที่บริษัทเหล่านั้นต้องผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งอาจบานปลายกลายเป็นวิกฤตตลาดเงินและตลาดทุนระลอกใหม่ สำหรับข้อมูลตราสารหนี้บางส่วนที่ครบกำหนดไถ่ถอนสิ้นปี 63 และเข้าข่ายได้รับเงินช่วยเหลือของแบงค์ชาติ ประกอบด้วยหุ้นกู้ของเศรษฐีเมืองไทยเต็มมมมมไปหมด ไม่เชื่อลองดูกันหน่อยสิจ๊ะ - ตระกูลจิราธิวัฒน์ ได้แก่ บมจ.โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา หุ้นกู้ระยะยาว เรตติ้ง A วงเงิน 800 ล้านบาท / บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา หู้นกู้ระยะสั้น เรตติ้ง AA วงเงิน 3,052 ล้านบาท และระยะยาวเรตติ้ง A- วงเงิน 800 ล้านบาท - ตระกูลอัศวโภคิน ได้แก่ บมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ หุ้นกู้ระยะยาว เรตติ้ง A+ วงเงิน 14,000 ล้านบาท - ตระกูลอาหุนัย ได้แก่ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ หุ้นกู้ระยะยาว เรตติ้ง AA วงเงิน 5,000 ล้านบาท และเรตติ้ง A- วงเงิน 1,500 ล้านบาท - ตระกูลโลเฮีย ได้แก่ บมจ.อินโดรามา เวนเจอร์ หุ้นกู้ระยะยาว เรตติ้ง A+ วงเงิน 3,400 ล้านบาท - ตระกูลกาญจนพาสน์ ได้แก่ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ตั๋วเงิน B/E เรตติ้ง A วงเงิน 13,980 ล้านบาท หุ้นกู้ระยะยาว เรตติ้ง A วงเงิน 5,000 ล้านบาท - ตระกูลเจียรวนนท์ ได้แก่ บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร ตั๋วเงิน เรตติ้ง A+ วงเงิน 3,500 ล้านบาท หุ้นกู้ระยะยาว เรตติ้ง A+ วงเงิน 5,000 ล้านบาท / บมจ.ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) หุ้นกู้ระยะสั้น เรตติ้ง A+ วงเงิน 5,500 ล้านบาท และหุ้นกู้ระยะยาว เรตติ้ง A+ วงเงิน 5,000 ล้านบาท / บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น หุ้นกู้ระยะยาว เรตติ้ง BBB+ วงเงินรวม 12,026.3 ล้านบาท - ตระกูลสิริวัฒนภักดี ได้แก่ บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ ตั๋วเงิน B/E เรตติ้ง AA วงเงิน 2,000 ล้านบาท หุ้นกู้ระยะยาว เรตติ้ง AA วงเงินรวม 9,192 ล้านบาท - บริษัทที่มีผู้ถือใหญ่คือ "กระทรวงการคลัง" ได้แก่ บมจ.การบินไทย หุ้นกู้ระยะยาว เรตติ้ง A+ วงเงิน 2,750 ล้านบาท และเรตติ้ง A วงเงิน 6,375 ล้านบาท / บมจ.ปตท. ตั๋วเงิน B/E ไม่มีเรตติ้ง วงเงิน 4,118 ล้านบาท หุ้นกู้ระยะยาวใช้ตราสารหนี้บริษัทอื่นค้ำประกันแทน เรตติ้ง AAA วงเงิน 20,000 ล้านบาท


อย่างไรก็ตาม แบงค์ชาติ ได้ชี้แจงการใช้วงเงิน 4 แสนล้านนี้ไว้ว่า การออกมาตรการในครั้งนี้ เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน เพราะตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนที่มีขนาดถึง 3.6 ล้านล้านบาท หรือกว่า 20% ของ GDP เป็นแหล่งระดมเงินทุนและแหล่งลงทุนที่สำคัญ ถ้าตลาดการเงินส่วนใดส่วนหนึ่งมีปัญหา ก็อาจกระทบเป็นลูกโซ่ไปสู่ระบบการเงินโดยรวมและภาคเศรษฐกิจจริง

นอกจากนี้การรอให้ปัญหาเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยเข้าไปแก้ไข ย่อมมีต้นทุนต่อระบบเศรษฐกิจการเงินสูงกว่าการเข้าไปดูแลก่อนที่ปัญหาจะลุกลาม ดังนั้นจึงต้องเตรียมเครื่องมือไว้ล่วงหน้า และการตัดสินใจที่ต้องการความรวดเร็วเร่งด่วน อาจจะทำให้ไม่สามารถพึ่งพากลไกการทำงานของธนาคารเฉพาะกิจของรัฐแต่เพียงอย่างเดียว


สุดท้ายนี้ คงต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้มีอำนาจตัดสินใจใช้เงิน ว่าควรเอาเงินของประชาชนมาอุ้มประชาชนที่เป็นคนจนหลายล้านคนในประเทศ หรือเอาไปอุ้มบรรดาเศรษฐีเพียงไม่กี่ตระกูลเพื่อรักษาความรวยให้เหมือนเดิม !!

0 views0 comments
bottom of page