top of page

เงินบาทอ่อนสุดรอบ 16 ปี กระทบยังไง ทำไงกับชีวิต ?



เงินบาทอ่อนสุดรอบ 16 ปี กระทบยังไง ทำไงกับชีวิต ? #ไม่อยากเห็นเงินบาทที่อ่อนค่าเพราะอยากเห็นหน้าแค่เพียงเธอ

สถานการณ์เกี่ยวกับค่าเงินบาทช่วงนี้ น่าเป็นห่วงมากกก เพราะอยู่ในช่วงที่ปวกเปียกเหลือเกิน 21 ส.ค. ที่ผ่านมา อ่อนสุดรอบ 16 ปีแตะระดับ 36.95 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ แม้หลังจากนั้นจะแข็งค่ากลับไปได้ถึง 34.99 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ก็ต้านได้ไม่นาน กลับมายวบเหมือนเดิม และไหลพรวดต่อเนื่องตั้งแต่ต้นเดือนนี้เป็นต้นมา อ่อนได้ย้วยสุดถึง 36.82 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อวานนี้ . สาเหตุสำคัญเกิดจากการที่รัฐบาลกลางสหรัฐฯ ขึ้นดอกเบี้ยในอัตราเร่งเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ แต่ดอกเบี้ยของไทยขึ้นช้าและน้อยกว่า ส่งผลให้ฟันด์โฟลว์ไหลออกเพื่อหาผลตอบแทนที่ดีกว่า . ขณะเดียวกัน สหรัฐฯ เริ่มลดขนาดงบดุล ซึ่งในงบดุลประกอบด้วยพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันการจำนอง (MBS) โดยจะปล่อยให้ตราสารเหล่านี้ครบอายุในแต่ละเดือนโดยที่ไม่มีการซื้อเพิ่มเติม ส่งผลให้ปริมาณเงินดอลลาร์ในระบบลดลง เงินไหลกลับเข้ามา ทำให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น และกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลง . ที่นี้ถามว่า "บาทอ่อน" แล้วจะส่งผลกระทบยังไง ? . #เสี่ยวCREW แกะบทวิเคราะห์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ใจความสรุปดังนี้... . 1. ธุรกิจนำเข้าต้นทุนพุ่ง: เงินบาทที่อ่อนค่าทำให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้า รวมถึงเครื่องจักร ชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ สูงขึ้น เนื่องจากต้องใช้เงินบาทในจำนวนที่มากขึ้น เพื่อซื้อสินค้าจากต่างประเทศเข้ามา ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศของไทย ณ เม.ย.65 พบว่า เรามีมูลค่าการนำเข้าถึง 8.6 แสนล้านบาท แต่มีการส่งออกเพียง 7.8 แสนล้านบาท ดังนั้นจะทำให้ไทยเราขาดดุลการค้าเพราะนำข้ามากกว่าส่งออกนั่นเอง . 2. ต้นทุนการงินกู้ยืมต่างประเทศสูงขึ้น: ธุรกิจที่มีการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ หรือค้างชำระค่าสินค้าบริการอยู่ จะมีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นทันที เพราะต้องใช้เงินบาทในจำนวนที่มากขึ้น เพื่อชำระหนี้สกุลเงินต่างประเทศ ข้อมูล ณ ธ.ค.64 พบว่า ไทยมีหนี้ต่างประเทศ ทั้งส่วนที่เป็นของรัฐบาล สถาบันการเงิน และภาคเอกชนรวมกันทั้งสิ้นมโหฬารถึง 7 ล้านล้านบาท OMG !!! เดาว่าเกินครึ่งคงจะมาจากการกู้ของรัฐบาล เพราะกู้เก่งมากชุดนี้ . 3. ค่าใช้จ่ายต่างประเทศสูงขึ้น: แน่นอนว่าคนที่ทำธุรกรรมกับต่างประเทศ อาทิ ทำธุรกิจ ลงทุน หรือ ท่องเที่ยว เป็นต้น จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทันที เพราะมูลค่าของเงินบาทลดลง . แล้วเงินบาทจะอ่อนค่าถึงเมื่อไหร่ ? ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เงินบาทจะยังมีโอกาสอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ดอกเบี้ยไทยจะเริ่มขยับขึ้น แต่ดอกเบี้ยของ Fed มีการเร่งตัวขึ้นเร็วกว่า . แล้วทีนี้จะจัดการเงินกันอย่างไร ? . มี 5 แนวทางสำหรับบุคคล 5 กลุ่ม ประกอบด้วย . 1. ผู้ที่ต้องการเดินทางไปต่างประเทศ: สามารถเดินทางได้ แต่การเดินทางในช่วงนี้ จะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง หากเชื่อว่าเงินบาทจะอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง แนะนำให้แลกเงินไว้ล่วงหน้า . 2. ผู้ที่ลงทุนในกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ: ให้เลือกลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อลดผลกระทบหรือความกังวลใจจากการขึ้นลงของค่าเงิน และช่วยให้เราลงทุนกองทุนรวมต่างประเทศได้อย่างสบายใจมากขึ้น . 3. ผู้ที่ลงทุนในตลาดหุ้น: ควรเลือกลงทุนในหุ้นกลุ่มส่งออก เช่น กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน อาหาร เพราะได้ประโยชน์จากการแปลงเงินดอลลาร์กลับมาเป็นเงินบาทที่มากขึ้น และหลีกเลี่ยงหุ้นกลุ่มพลังงาน โรงไฟฟ้า ที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทอ่อนค่าเนื่องจากมีการกู้เงินสกุลเงินดอลลาร์มาใช้ . 4. ผู้ที่มีทองคำในพอร์ต: ถือเป็นจังหวะขายทำกำไร แล้วเหลือไว้ในพอร์ตที่ 5-10% เพราะเมื่อเงินบาทอ่อนค่า ราคาทองคำมีแนวโน้มจะปรับตัวเพิ่มขึ้น . 5. ผู้ประกอบการที่มีการทำธุรกิจเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออก: แนะนำให้ฝากเงินเข้าบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ หรือบัญชี FCD และเมื่อต้องชำระเงินต่างประเทศ ก็ให้โอนเงินออกจากบัญชี FCD โดยสามารถใช้ Forward หรือ Option ได้ตามความเหมาะสมเพื่อช่วยบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน . ใครอยู่กลุ่มไหนก็ปรับตัวกันให้เหมาะสมก็แล้วกันนะครับ ... เพราะไม่รู้ว่าทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง จะมีแนวทางการจัดการเรื่องนี้อย่างไร

5 views0 comments
bottom of page