top of page

เช็คอาการ ”หนี้สาธารณะ” ลุ้นปีหน้าพุ่งปรี๊ดแค่ไหน ?


เช็คอาการ ”หนี้สาธารณะ” ลุ้นปีหน้าพุ่งปรี๊ดแค่ไหน ? #เห็นหนี้แล้วจะเป็นลมแต่พอเห็นนมผมสู้ตาย “หนี้สาธารณะ” ก่อนหน้านี้คนทั่วไปกล่าวถึงกันมากในยุค “ลุงตู่” เพราะเป็นช่วงที่มีการกู้เงินจำนวนมาก มาใช้ช่วยเหลือ แก้ไข ปัญหาปากท้องและเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 . การกู้เงินครั้งดังกล่าวส่งผลให้เกิดการขยายเพดานหนี้สาธารณะ เมื่อ 20 ก.ย. 64 โดยเพิ่มขึ้นจาก 60% ของจีดีพี มาอยู่ที่ 70% ของจีดีพี (เพดานหนี้สาธารณะทบทวนทุก 3 ปี) . ปัจจุบันหนี้สาธารณะของไทย ณ เดือน ก.ย. 66 มีจำนวน 11.131 ล้านล้านบาท ขณะที่มูลค่าจีดีพีอยู่ที่ 17.914 ล้านล้านบาท คิดเป็น 62.14% ของจีดีพี (ก่อนโควิด-19 หนี้สาธารณะอยู่ที่ราว 40% กว่า) โดยหนี้จำนวนนี้แบ่งเป็น • หนี้รัฐบาล 9.779 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 87.86% • หนี้รัฐวิสาหกิจ 1.097 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 9.67% • หนี้รัฐวิสาหกิจทำธุรกิจในภาคการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 2.13 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 1.92% • หนี้หน่วยงานของรัฐ 6.14 หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.55% . ปีงบประมาณ 67 คาดการณ์เบื้องต้นรัฐจะเพิ่มหนี้อีกราว 1.94 แสนล้านบาท โดยแบ่งคร่าวๆ เป็น • หนี้รัฐบาล 9.74 หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 50.11% • หนี้รัฐวิสาหกิจ 9.69 หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 49.89% . ถ้าปีงบประมาณหน้า (ซึ่งยังไม่มีตัวเลขจริง) ใช้แค่ที่ประมาณการจริง ก็ไม่น่าจะทำให้หนี้สาธารณะพุ่งปรี๊ดไปจากแถวนี้ . แต่ #เสี่ยวCREW ค่อนข้างมั่นใจว่า มันไม่น่าจะใช่แค่นี้ชัวร์!! . เพราะจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ที่เห็นคร่าวๆ นั้น ส่วนใหญ่มุ่งเน้นการใช้เงินเพื่อ แจก อุ้ม เยียวยา รักษา บรรเทา ชดเชย ดูแล ฯลฯ (คำศัพท์มันเยอะ ไม่รู้จะใช้อะไรให้มันชัด) ซึ่งการใช้เงินในลักษณะดังกล่าว มีเท่าไหร่ก็ไม่พอ ดังนั้นโอกาสที่หนี้สาธารณะอาจวิ่งขึ้นอย่างสนุกสนานจึงมีความเป็นไปได้ . ขณะที่การโตของเศรษฐกิจประเทศยังเห็นทิศทางไม่ชัดเจน เพราะโลก ไม่ชัดเจน ผันผวนตลอด ซึ่งอาจกระทบการส่งออก การท่องเที่ยวบ้านเรามากกว่าที่คิดไว้ แถมยังมีกลุ่มประเทศที่บึ้ม!! ใส่กันไปมา ทั้งทางวาจาและยิงใส่กันจริงๆ สร้างความเสี่ยงไม่ขาดสายให้กับห่วงโซ่อุปทาน และบรรยากาศการลงทุนทั่วโลก . สรุป ประเทศมีหนี้เยอะๆ มันไม่ดีครับ มันทำให้ต้นทุนทางการเงินของประเทศสูง แล้วสุดท้ายคนที่ต้องรับผิดชอบด้วยการใช้ชีวิตแพงขึ้น คือ ประชาชน นั่นเอง ข้อมูลจาก: สำนักบริหารหนี้สาธารณะ

3 views0 comments
bottom of page