top of page

เศรษฐกิจถดถอย หุ้นไทย"เละ"แค่ไหน ??



เศรษฐกิจถดถอย หุ้นไทย"เละ"แค่ไหน ??


"ภาวะเศรษฐกิจถดถอย" (Recession)

เป็นเครื่องชี้วัดเชิงเทคนิคของนักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลก เป็นสัญญาณเตือนก่อนที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ขาลงอย่างเป็นทางการ “ยากฉิบฯ”


เอาเป็นว่าดูงี้แล้วกัน....ถ้า GDP "ติดลบ" อย่างน้อย 2 ไตรมาสติด

เมื่อเปรียบกับ GDP ไตรมาสก่อนหน้า ก็เกียมตัว ชิลยาว น้ำตานอง ได้เลยฮะ


แล้ว GDP ที่เคยเติบโตดั่งขุนเขา มันติดลบได้ไง?


ง่ายมาก...เพียงแค่กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ มันน้อยลง มันหด!! เช่น

การหดตัของการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ/ ชะลอการลงทุน/มูลค่าส่งออกสินค้าและบริการลดลง/ การใช้จ่ายของประชากรลดลง/ ภาคเอกชนลดการจ้างงาน/ การปิดกิจการ เป็นต้น


ณ ตอนนี้เราอาจเริ่มเห็นภาพเหล่านี้บ้างแล้วเบาๆ รอดูกันต่อว่าจะดีขึ้นไหม


อย่างไรก็ตามยามที่เศรษฐกิจถดถอย "ดัชนีตลาดหุ้น"

มักเป็นกลไกสะท้อนความกังวลล่วงหน้าเสมอ!!! เนื่องจากนักลงทุนจะคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจอย่างน้อย 3 เดือน กรณีเศรษฐกิจหรือกำไรบริษัทจดทะเบียนมีความเสี่ยงตกต่ำนักลงทุนจะเริ่มแห่ขายหุ้นทันทีเพื่อลดความเสี่ยง (คล้ายกับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นกับตลาดหุ้นไทยปัจจุบัน)


ย้อนอดีตไปดูประเทศไทยประสบภาวะเศรษฐกิจถดถอยเชิงเทคนิคมาแล้ว 4 ครั้ง 2540 / 2551 / 2556 /2557 แต่ละรอบตลาดหุ้นไทย"เละตุ้มเปะ"ขนาดไหน?


1. วิกฤตต้มยำกุ้งฉุดดัชนีฯลงลึก 1,105.95 จุด!! เกิดในปี 2540 GDP ปรับตัวลดลงตั้งแต่ไตรมาส 3/2540 ถึงไตรมาส 2/2541 ลดลงต่อเนื่องสี่ไตรมาสรวด เหตุการณ์ช่วงแรกดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงรุนแรง นักลงทุนสะท้อนความกังวลเชิงลบล่วงหน้าที่มีกับแนวโน้มเศรษฐกิจไทย

สัญญาณของแรงขายเริ่มเห็นตั้งแต่เดือน มิ.ย.2539 ที่มีจุดสูงสุดอยู่ที่ 1,310.54 จุด จากนั้นดัชนีฯไหลลงมาต่อเนื่องจนมาทำจุดต่ำสุดในเดือน ก.ย.2541 อยู่ที่ 204.59 จุด ก่อนจะเริ่มเกิดสัญญาณซื้อผลักดันดัชนีฯกลับมาเป็นขาขึ้นอีกครั้งในเดือน ต.ค.2541 เหตุการณ์รอบนี้พบว่าดัชนีฯรวมปรับลดลงไปถึง 1,105.95 จุด !!


2. วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ฉุดดัชนีฯลงลึก 506.52 จุด!! เกิดในปี 2551 ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจการเงินโลก หรือ วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในสหรัฐฯส่งผลให้ GDP ปรับตัวลดลงนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 4/2551 ถึงไตรมาส 1/2552 ลดลงสองไตรมาสติดต่อกัน


ดัชนีตลาดหุ้นไทยส่งสัญญาณแรงขายเกิดขึ้นล่วงหน้าในเดือน พ.ค.2551 มีจุดสูงสุดอยู่ที่ 886.57 จุด ก่อนที่ดัชนีฯไหลลงมาต่อเนื่อง และปรับตัวลดลงมาทำจุดต่ำสุดในเดือน พ.ย.2551 อยู่ที่ 380.05 จุด ก่อนเริ่มเกิดสัญญาณซื้อผลักดันดัชนีฯกลับมาเป็นขาขึ้นอีกครั้งในเดือน เม.ย.2552 เหตุการณ์รอบนี้พบว่าดัชนีฯรวมปรับลดลงไปถึง 506.52 จุด !!


3. วิกฤตเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ฉุดดัชนีฯลงลึก 389.69 จุด!! เกิดในปี 2556 เป็นช่วงที่เผชิญกับปัจจัยเสี่ยงภายนอก คือ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก-การผลิตภาคอุตสาหกรรม ประกอบกับปัจจัยภายในประเทศภาวะภัยแล้งรุนแรงที่สุดของไทย ส่งผลกระทบต่อการผลิตภาคเกษตรกรรม GDP ปรับตัวลดลงนับตั้งแต่ไตรมาส 1/2556 ถึงไตรมาส 2/2556 ลดลงสองไตรมาสติดต่อกัน


ดัชนีตลาดหุ้นไทยส่งสัญญาณแรงขายเกิดขึ้นล่วงหน้าในเดือน พ.ค.2556 มีจุดสูงสุดอยู่ที่ 1,649.77 จุด ก่อนที่ดัชนีฯไหลลงมาต่อเนื่อง และปรับตัวลดลงมาทำจุดต่ำสุดในเดือน ส.ค.2556 อยู่ที่ 1,260.08 จุด ก่อนเริ่มเกิดสัญญาณซื้อผลักดันดัชนีฯแค่ระยะสั้นๆในเดือน ก.ย.2556 เหตุการณ์รอบนี้พบว่าดัชนีฯรวมปรับลดลงไปถึง 389.69 จุด !!


4. วิกฤตความไม่แน่นอนทางการเมือง ฉุดดัชนีฯลงลึก 288.83 จุด!! เกิดในปี 2556-2557 เป็นช่วงที่เผชิญกับปัจจัยความไม่แน่นอนทางการเมือง ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวการลงทุน การค้า และการผลิตภาคอุตสาหกรรม GDP ปรับตัวลดลงนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 4/2556 ถึงไตรมาส 1/2557 ลดลงสองไตรมาสติดต่อกัน


ดัชนีตลาดหุ้นไทยส่งสัญญาณแรงขายในเดือน ก.ย.2556 มีจุดสูงสุดอยู่ที่ 1,494.27 จุด ก่อนที่ดัชนีฯไหลลงมาต่อเนื่อง และปรับตัวลดลงมาทำจุดต่ำสุดในเดือน ม.ค.2557 อยู่ที่ 1,205.44 จุด ก่อนเริ่มเกิดสัญญาณซื้อผลักดันดัชนีฯกลับมาเป็นขาขึ้นอีกครั้งในเดือน มี.ค.2557 เหตุการณ์รอบนี้พบว่าดัชนีฯรวมปรับลดลงไปถึง 288.83 จุด !!


แล้วรอบนี้ล่ะ GDP ลดลงไตรมาส 4/2562 เห็นแววลดฮวบในไตรมาส 1/2563

ระวังนะ!! ถูกแล้วอาจมีถูกกว่า


ที่มาข้อมูล: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

0 views0 comments
bottom of page