top of page

โควิด-19 ฉุดธุรกิจหนี้เสียบานตะไท บริหารอย่างไร? บรรลัยทั่วประเทศ



โควิด-19 ฉุดธุรกิจหนี้เสียบานตะไท บริหารอย่างไร? บรรลัยทั่วประเทศ #หนี้เสียทำร้ายเศรษฐกิจจีบเธอไม่ติดทำร้ายหัวใจ

ประยุทธ์ จันโอชา ประกาศเปิดประเทศภายใน 120 วัน (วันที่ 121 เปิดปุ๊ป ปิดปั๊ป เปิดครึ่งวันพอ ไรแบบนี้ป่าว) ต้องการให้ทุกคนทำมาหากินได้ ผ่านพ้นวิกฤต พร้อมระบุว่ามีวัคซีนเข้ามาเพียงพอฉีดให้ประชาชน แต่..ทุกคนที่โดนเลื่อนยังคงไม่ได้ฉีดตามเดิม และไม่มีใครในฝ่ายบริหารรู้ว่าวัคซีนไปไหน เมื่อไหร่พร้อม . ดังนั้นจึงไม่รู้ว่าการแถลงครั้งนี้ เชื่อถือได้แค่ไหน ? . อาจเป็นเพียงการสร้างภาพใหม่ ให้คนลืมแนวทางแก้ปัญหาหนี้สินที่แสนอีเดียด ซึ่งระบุไว้ว่าได้เร่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้หลายกลุ่ม พร้อมตบท้ายด้วยเตรียมผุดโรงรับจำนำ-จำนองเพิ่ม เพื่อดูแลผู้มีรายได้น้อยและมีทรัพย์สินหรือที่ดินให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้.. . What !!! @%$^&*)(_++!@#^%@$%^ #เสี่ยวCREW เห็นแล้วก็ได้แต่อุทานเป็นภาษานอร์ทมาซิโดเนีย . ไม่ทราบว่าวิสัยทัศน์เยี่ยงนี้ ได้ปรึกษาใครหรือยังก่อนพูด แก้หนี้ด้วยการสร้างหนี้ และมีรายได้ไม่เพียงพอชำระหนี้ สุดจะเอื้อนเอ่ย.... . ก่อนที่จะให้แก้หนี้ด้วยการสร้างหนี้ เคยรู้ไหมว่าผู้คนบรรลัยกันแค่ไหน ? ปัจจุบันหนี้เสียในระบบมีอยู่เท่าไหร่ ? . ข้อมูลจากแบงก์ชาติ ณ สิ้นไตรมาส 1/64 หนี้เสียในระบบทั้งหมดอยู่ที่ 5.37 แสนล้านบาท คิดเป็น 3.09% ของยอดสินเชื่อทั้งหมดในระบบ เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 62 (ก่อนโควิด-19) ที่มีอยู่ 4.6 แสนล้านบาท . ยังไม่นับกลุ่มหนี้ที่ต้องกล่าวถึงเป็นพิเศษ (ค้างเกิน 1 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน) ที่มีอยู่ระดับ 1.11 ล้านล้านบาท รอวันระเบิด!! เทียบกับสิ้นปี 62 (ก่อนโควิด-19) มีอยู่เพียง 4.36 แสนล้านบาทเท่านั้น แค่คิดก็สยองแล้วล่ะครับ หากก้อนนี้ระเบิดจริง (แต่คนพูดกลับไม่คิด) . นอกจากนี้เมื่อสำรวจข้อมูล หนี้เสีย!! ในระบบ แยกตามธุรกิจ พบว่า 5 อันดับแรกที่มีหนี้เสียรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 1/63 เป็นต้นมา ได้แก่ 1. ธุรกิจอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.63 หมื่นล้านบาท/ไตรมาส 2. ธุรกิจขายส่งและขายปลีกยานยนต์และจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1.01 หมื่นล้านบาท/ไตรมาส 3. ธุรกิจการผลิต เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 6.19 พันล้านบาท/ไตรมาส 4. ธุรกิจสาธารณูปโภคและการขนส่ง เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4.21 พันล้านบาท/ไตรมาส 5. ธุรกิจบริการ เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.64 พันล้านบาท/ไตรมาส . ส่วนใหญ่เป็นภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประชาชนรายย่อยทั้งสิ้น โดยเฉพาะธุรกิจอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ที่ร้านค้าร้านรวงต่างๆ พาเหรดปิดกันอย่างต่อเนื่อง รายได้ไม่มี รายจ่าย-หนี้เท่าเดิม ทำไงล่ะหยุดจ่ายสิครับ . ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ กระทบเป็นวงกว้าง กำลังซื้อหดหาย ทุกวันนี้ลองไปเดินห้างดังที่ผู้คนเคยพลุกพล่านสิครับ ตาเถร...นึกว่า บ้านผีสิง !!! . สิ่งที่เกิดขึ้นมันสะท้อนไปที่การบริหารจัดการของผู้มีอำนาจและหน้าที่ทั้งหลายในบ้านเมืองนี้ ซึ่งจัดว่าด้อยคุณภาพและไร้มาตรฐาน . ในขณะที่หลายประเทศเริ่มกลับเข้าสู่การฟื้นตัวกิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มขับเคลื่อน มีการจัดอีเวนต์ต่างๆ คอนเสิร์ตหรือกีฬา โดยที่ผู้ชมแทบไม่ใส่หน้ากากกันอีกต่อไป เพราะเขามีการจัดการเป็นระบบ ลำดับความสำคัญได้ถูกต้อง . ยามโรคระบาด สิ่งที่จำเป็นที่สุดคือวัคซีน ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ก็ได้รับไปแล้ว แต่ประเทศแถวนี้ยังกู้เงินจำนวนมากมาซื้อยุทโธปกรณ์อยู่เลย (จะรบกับใครวะ?) . สงสารตัวเองกันไหมครับ นอกจากเราต้องเผชิญกับผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เศรษฐกิจ ธุรกิจ พังพินาศมากขึ้นเรื่อยๆ เรายังต้องเผชิญกับคณะผู้บริหารประเทศที่ไร้ความสามารถ ขาดสติปัญญา เป็นความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอีก . "วัคซีนที่ดีที่สุด เพราะมาไวที่สุด" ที่ใครเคยบอกไว้ หมดเฉย..ไม่พอฉีด!! โบ้ยกันไปโบ้ยกันมา จนตอนนี้ก็ยังไม่อัพเดทกำหนดการใหม่ให้ประชาชน ไม่มีการชี้แจงที่ชัดเจนและน่าเชื่อถือใดๆ . พูดอะไรไว้ไม่เคยทำได้เลย คิดถึงน้าค่อมจังอยากพูดแทนว่า "ไอ่สัสสสส" เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้

10 views0 comments
bottom of page